ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก
คอลเลกชันทั้งหมดเริ่มต้นใช้งาน
คำศัพท์เฉพาะในอุตสาหกรรมโรงแรม
คำศัพท์เฉพาะในอุตสาหกรรมโรงแรม

นี่คือคำศัพท์ด้านอุตสาหกรรมโรงแรมที่มีประโยชน์

อัปเดตเมื่อกว่า 2 สัปดาห์ที่แล้ว

นี่คือรายการคำศัพท์เฉพาะในอุตสาหกรรมโรงแรม และคำศัพท์ทางเทคโนโลยีที่ใช้กันทั่วไป

A2A

คำศัพท์ที่ใช้ในวงการอีคอมเมิร์ซ ตัวย่อสำหรับ "ใครก็ได้ถึงใครก็ได้" (anyone to anyone)

ABVPOR

มูลค่าการจองเฉลี่ยต่อห้องที่ว่าง (ABVPOR) คำนวณโดย ADR ลบด้วย CPOR ของคุณ แล้วคูณด้วยจำนวนห้องที่ถูกจอง

รหัสการเข้าถึง (Access code)

รหัสระบุที่ไม่ซ้ำกัน ที่ใช้ในการจองราคาที่กำหนดไว้ล่วงหน้าได้อย่างปลอดภัย รหัสเหล่านี้ถูกกำหนดโดยแต่ละบริษัทที่โฆษณาราคาพิเศษนั้น ๆ

ส่วนเสริม (Add-on)

ส่วนขยายแพลตฟอร์มที่เพิ่มคุณสมบัติพิเศษ และเลือกโดยผู้ใช้ปลายทาง ส่วนเสริมนี้อาจขยายฟังก์ชันบางอย่างภายในแอปพลิเคชัน หรือเพิ่มไอเท็มใหม่เข้าไปยังอินเทอร์เฟสของแอปนั้น หรือเพิ่มความสามารถเพิ่มเติมให้กับแอป โดยที่ส่วนเสริมแต่ละตัวอาจมีหรือไม่มีค่าใช้จ่ายก็ได้

ซื้อล่วงหน้า (Advanced purchase)

หมายถึงข้อเสนอที่ลูกค้าที่จองนอกช่วงเวลาที่กำหนด จะได้รับส่วนลดบางอย่าง ส่วนใหญ่มักจะเป็นข้อเสนอพิเศษเมื่อซื้อล่วงหน้า 30 วัน

รหัสสนามบิน

รหัสตัวอักษร 3 หลักที่ได้รับการตั้งขึ้นเพื่อระบุสนามบิน สถานที่พักต่างๆ มักจะได้รับรหัสอ้างอิงจากรหัสของสนามบินในระบบการจองเบ็ดเสร็จ (GDS)

การจัดสรรห้องพัก

การจัดสรร (Allotments) ใช้เพื่อกำหนดกลุ่มอินเวนทอรีในการเดินทางที่เจรจาไว้ล่วงหน้า (เช่น ที่นั่งบนเครื่องบิน และห้องพักในโรงแรม) ซึ่งได้รับการซื้อและถือครองโดยเอเจนซี่ด้านการเดินทาง และแพลตฟอร์มต่างๆ โดยเอเจนซีเหล่านี้มีกำลังซื้อค่อนข้างมาก ซึ่งรวมไปถึงผู้ค้าส่ง ผู้ให้บริการที่พัก ผู้ประกอบการทัวร์ ผู้รวบรวมโรงแรม (เข้าเป็นแพ็กเกจต่างๆ) และแม้แต่ตัวแทนการท่องเที่ยวรายย่อยทั่วไป

Alt attribute (รู้จักกันทั่วไปว่า alt tag)

คำอธิบายข้อความสำหรับรูปภาพของคุณ ใช้เพื่ออธิบายรูปภาพเพื่อเหตุผลในการเข้าถึง ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่มีปัญหาความบกพร่องทางสายตา นอกจากนี้แล้วยังช่วยให้เสิร์ชเอนจินเข้าใจเนื้อหาเว็บไซต์ของคุณ และจะทำให้อันดับเว็บของคุณสูงขึ้น โดยเฉพาะเมื่อคุณทำตามแนวทางการปรับแต่งเว็บไซต์ให้ติดอันดับบนเครื่องมือการค้นหา (SEO)

สิ่งอำนวยความสะดวก

สิ่งอำนวยความสะดวก หมายถึงบริการและคุณลักษณะเพิ่มเติมที่ที่พักเสนอให้ เพื่อยกระดับประสบการณ์ของผู้เข้าพักและดึงดูดลูกค้า เพื่อให้เกิดผลกำไรสูงสุด สิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้อาจรวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกเสริมในห้องพัก เช่น เครื่องปรับอากาศ ตัวเลือกความบันเทิง (ทีวี/เพลง) Wi-Fi เครื่องใช้ในห้องน้ำ เสื้อคลุม และอื่นๆ รวมถึงความพิเศษอื่นๆ ภายในโรงแรมอีกด้วย

AMER

ตัวย่อที่สามารถใช้ได้กับตลาดอเมริกาทั้งหมด (อเมริกาเหนือ อเมริกากลางและใต้ รวมทั้งแคนาดาและแคริบเบียน) แต่ในบางครั้งก็อาจใช้เกี่ยวข้องกับตลาดอเมริกาเหนือ/แคนาดาเท่านั้น

APAC

ตัวย่อสำหรับตลาดเอเชียแปซิฟิก ซึ่งประกอบด้วยประเทศต่างๆ ที่ตั้งอยู่ในเอเชียและมหาสมุทรแปซิฟิก รวมไปถึง (แต่ไม่จำกัดเฉพาะ) ประเทศต่างๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย และประเทศอื่นๆ อีกมากมาย

การแบ่งส่วนตลาดเชิงวิเคราะห์

กระบวนการตามกฎเกณฑ์มาตรฐานที่ใช้สร้างการแบ่งส่วนตลาดที่เหมาะสมที่สุดเพื่อบริหารรายได้ซึ่งได้รับจากข้อมูลการจอง เพื่อรองรับทั้งพื้นฐานที่ดีที่สุดเพื่อใช้ในการคาดการณ์และการเพิ่มประสิทธิภาพ และการรายงานที่สำคัญๆ ขององค์กรรวมทั้งข้อกำหนดด้านระบบรายงานอัจริยะ

API key

คีย์สำหรับ "คำสั่งส่งการเชื่อมต่อระหว่างโปรแกรม" หรือที่เรียกสั้นๆ ว่าเอพีไอ (API) คือรหัสที่ใช้ระบุและตรวจสอบสิทธิ์ของแอปพลิเคชันหรือสิทธิ์ของผู้ใช้

ARPOR

รายได้ที่ปรับแล้วต่อห้องที่มีการเข้าพัก หรือ ARPOR หรือบางที่อาจเรียกอย่างง่ายๆ ในชื่ออื่นๆ เช่น รายรับ หรือรายได้ โดยจะวัดรายได้เฉลี่ยต่อวันที่ทำได้จากห้องที่ใช้แต่ละห้อง

จำนวนห้องว่าง

จำนวนห้องว่างสำหรับประเภทห้องพักประเภทใดประเภทหนึ่งในช่วงวันที่ที่ระบุ

ARI

ระบบเชื่อมต่อจำนวนห้องว่างและราคา (Availability and Rates Interface) เป็นระบบที่ใช้โอนข้อมูลจำนวนห้องว่างของโรงแรมรวมทั้งรายละเอียดของราคา ระหว่างระบบต่างๆ เช่น ระหว่างระบบผู้จัดการช่องทางและระบบการจองห้องพัก เป็นต้น

ราคาเฉลี่ยรายวัน (ADR)

ราคาเฉลี่ยต่อวันหรือ ADR ได้มาจากการนำรายได้ที่พักจริงในหนึ่งวัน หารด้วยจำนวนห้องทั้งหมดที่ขายหรือมีการเข้าพัก ทั้งนี้โปรดดู RevPAR ด้วย

ระยะเวลาเข้าพักเฉลี่ย (ALOS)

ระยะเวลาเข้าพักโดยเฉลี่ย (Average length of stay หรือ ALOS) ได้มาจากการบวกจำนวนคืนทั้งหมด แล้วหารด้วยจำนวนการจองในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ALOS จะถูกคำนวณสำหรับวันเดียวหรือสำหรับเดือนใดเดือนหนึ่งเท่านั้น และยังมีประโยชน์สำหรับประเภทห้อง เช่น อพาร์ตเมนต์ เพื่อกำหนดราคาและแพ็กเกจอีกด้วย

ราคาห้องพักเฉลี่ย (ARR)

ราคาห้องพักเฉลี่ย (Average Room Rate หรือ ARR) ได้มาจากการหารรายได้ที่พักทั้งหมดด้วยจำนวนห้องพักทั้งหมด ที่ขายหรือมีการเข้าพักในช่วงเวลาเดียวกัน โดย ARR ส่วนใหญ่จะถูกคำนวณและวิเคราะห์ โดยพิจารณาจากเดือนเดียว หรือคำนวณจากรายได้ตลอดทั้งปี ทั้งนี้โปรดดู RevPAR ด้วย

Axess

ระบบการจองเบ็ดเสร็จ (global distribution system หรือ GDS) ที่ Japan Airlines และ Sabre Inc. เป็นเจ้าของ เพื่อให้บริการแก่ตัวแทนท่องเที่ยวและสำนักงานขายตั๋วของ Japan Airlines เป็นหลัก การจองโรงแรมจะดำเนินการโดยใช้ฐานข้อมูลของ Sabre Hotels

B2B

คำศัพท์ที่ใช้ในการค้าอิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซ (e-commerce) เพื่ออธิบายถึงธุรกรรมระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ

B2C

คำศัพท์ที่ใช้ในการค้าอิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซ (e-commerce) เพื่ออธิบายถึงธุรกรรมระหว่างธุรกิจกับลูกค้า

ราคาที่ดีที่สุดที่มี (ราคาที่ดีที่สุด หรือ BAR)

ราคาที่ดีที่สุด (BAR) ราคาที่ดีที่สุด (Best Available Rate หรือ BAR) ในกรณีส่วนใหญ่จะเท่ากับราคาห้องพักที่ต่ำที่สุด (ถูกที่สุด) ที่ไม่ตรงกับเกณฑ์รับส่วนลด ที่เปิดให้สาธารณชนเข้าถึงได้ในวันใดวันหนึ่ง หรือเรียกอีกอย่างว่า "ราคาประจำวัน" (daily rate) หรือ "ราคาของวัน" ราคาดังกล่าวอาจใช้เป็นราคาฐาน (base rate) ให้ส่วนลดที่ต่อรองไว้อิงข้อมูลได้ (และเปลี่ยนแปลงแบบไดนามิกได้) และเป็นราคาสำหรับห้องพักเท่านั้น โดยทั่วไปแล้ว BAR มักจะเปลี่ยนแปลงไปตามระดับความต้องการของตลาด และมักจะเผยแพร่ไปยังช่องสาธารณะทุกช่อง

ราคาที่ยืดหยุ่นที่สุด (Best Flexible Rate)

หมายถึงราคาค่าห้องที่ต่ำที่สุด (ต่อห้อง) ที่มีเสนอในวันที่ที่กำหนด โดยมีนโยบายการจองที่ยืดหยุ่น (เช่น อนุญาตให้ยกเลิกได้)

BRG

การรับประกันราคาที่ดีที่สุด (Best Rate Guarantee) เป็นสัญญาว่าโรงแรมหรือ OTA จะแสดงราคาที่ดีที่สุดไว้บนเว็บไซต์ของตน เมื่อเปรียบกับราคาของห้องพักนี้ในเว็บไซต์อื่นๆ

พื้นที่ที่ปิดกั้น (Blocked space)

พื้นที่ที่สำรองไว้กับผู้ให้บริการท่องเที่ยว โดยทั่วไปจะเป็นบริษัททัวร์ กลุ่มบริษัท หรือผู้ค้าส่ง โดยมีเป้าหมายเพื่อขายพื้นที่ดังกล่าวต่อไปยังผู้เข้าพัก ซึ่งโดยปกติแล้วพื้นที่ที่ขายไม่ได้จะถูกส่งคืนให้กับผู้ให้บริการท่องเที่ยว ภายในระยะเวลาที่กำหนดก่อนที่จะเช็คอิน

วันที่ที่ปิดไว้ (Blockout dates)

คุณสมบัติที่ทำให้ห้องที่เลือกไม่เปิดให้จอง เพื่อเหตุผลต่างๆ (เช่น การปรับปรุงใหม่ หรือการทำความสะอาด เป็นต้น)

แผนห้องพักพร้อมมื้ออาหาร/แผนมื้ออาหาร

แผนที่ให้ผู้เข้าพักได้รับที่พักพร้อมอาหาร “อาหารเช้าและเย็น” รวมสองมื้อ (อาหารเช้าและเย็น หรืออาหารเช้าและอาหารกลางวัน) สำหรับ “ฟูลบอร์ด" (Full Board) จะรวมอาหารสามมื้อต่อวัน

การจอง / การสำรองห้องพัก

การจัดเตรียมเมื่อคุณจองบางสิ่งบางอย่าง เช่น บริการ (เช่น ห้องพัก) ไว้ล่วงหน้า เพื่อใช้งานในภายหลัง

ช่องทางการจอง (Booking channel)

วิธีการหรือระบบการจัดจำหน่ายห้องพัก ที่เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวสามารถค้นหาและจองห้องพักของผู้ให้บริการที่พัก และยังหมายถึงแชนแนล เว็บไซต์การจอง ตัวแทนการท่องเที่ยวออนไลน์ (OTA) เว็บไซต์การท่องเที่ยวและช่องทางการจัดจำหน่ายได้ด้วย

ระบบการจอง

ระบบการจอง (เรียกอีกอย่างว่า ระบบการจองออนไลน์ ระบบการจองผ่านอินเทอร์เน็ต หรือระบบการจองโดยตรง) เป็นแอปพลิเคชันที่รองรับการจองออนไลน์ โดยส่วนใหญ่มักจะจองผ่านเว็บไซต์ของโรงแรมเอง

ความคืบหน้าของการจอง (Booking pace)

ความคืบหน้าของการจอง (Booking pace) คือความเร็ว/อัตราที่การจองเกิดขึ้นตลอดช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ นับจากวันที่จองไปจนถึงวันที่เช็คอิน โดยจะแสดงเป็นเศษส่วนของรายการจองที่ได้รับมาล่วงหน้าในวันนั้นๆ การคำนวณความคืบหน้าถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของการคาดการณ์ล่วงหน้า ตัวอย่างเช่น ผู้จัดการโรงแรมอาจทราบอยู่แล้วว่าปกติแล้วนอกช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวนั้นมักจะได้รับการจองประมาณ 20 รายการก่อนเช็คอิน 30 วัน แต่กลับกลายเป็นว่าขณะนี้ได้รับการจองถึง 40 รายการแล้ว นั่นเท่ากับว่าความคืบหน้าของการจองในขณะนี้สูงกว่าปกติถึงเท่าตัว หรือกว่า 100 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ดังนั้นจึงควรทำการปรับแต่งเพื่อเพิ่มรายได้ให้สูงสุด ซึ่งการปรับแต่งอาจรวมถึง การขึ้นราคา การนำ MLOS มาใช้ หรือการปรับเปลี่ยนนโยบายการรับประกัน/การยกเลิกให้เข้มงวดมากขึ้น เป็นต้น

นโยบายการจอง

โรงแรมส่วนใหญ่จะสร้างและจัดการนโยบายการจองเอาไว้หลายนโยบายด้วยกัน นโยบายเหล่านี้อาจรวมถึง นโยบายทั่วไป นโยบายการยกเลิก และนโยบายการชำระเงิน โดยสามารถนำไปใช้ได้ตามฤดูกาล ตามแต่ละวันในสัปดาห์ ตามราคาห้องพัก และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตามโปรโมชันและแผนราคา เป็นต้น

สรุปการจอง (เรียกอีกอย่างว่าสรุปข้อมูลการจอง)

สรุปรายละเอียดการจองของผู้เข้าพัก ซึ่งที่พักได้จัดเอาไว้ให้ผู้เข้าพัก โดยอาจรวมถึงรายละเอียดการติดต่อที่พัก จำนวนผู้เข้าพักในแต่ละการจอง วันที่เช็กอินและเช็กเอาต์ ประเภทห้องพัก จำนวนเงินที่เรียกชำระ จำนวนเงินค้างชำระ และจำนวนเงินที่ชำระแล้ว ฯลฯ

การตีกลับ/ราคาตีกลับ (Bounce / Bounce rate)

การตีกลับคือเซสชันที่ทริกเกอร์เซิร์ฟเวอร์การวิเคราะห์ด้วยคำขอเดียว (single request) เท่านั้น เช่น เมื่อผู้เยี่ยมชมเปิดเพจเพียงแค่หน้าเดียวในเว็บไซต์ แล้วออกไปโดยไม่ได้ดำเนินการใดๆ เลย

งบประมาณ

แผนการทางการเงินหรือแผนการจัดสรรทรัพยากรที่โรงแรมกำหนดไว้ เพื่อบรรลุเป้าหมายทางด้านรายได้และกำไร ภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยอาจเกี่ยวข้องกับการประมาณรายรับ ค่าใช้จ่าย และผลการดำเนินงานทางการเงินโดยรวม โดยอิงจากอัตราการเข้าพัก ราคาห้องพัก และแหล่งรายได้อื่นๆ ที่คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้การจัดทำงบประมาณในการบริหารรายได้ของโรงแรมถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการชี้นำกระบวนการตัดสินใจ ที่เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์ด้านราคา ความพยายามทางการตลาด ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และลำดับความสำคัญในการลงทุน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทั้งด้านรายได้และกำไร

อัปเดตหลายรายการ

เครื่องมือที่ช่วยให้สามารถอัปเดตอินเวนทอรีหลายรายการได้ในเวลาเดียวกัน

ส่วนประสมธุรกิจ (Business mix)

การผสมผสานของกลุ่มตลาดที่แตกต่างกันที่ครอบครองโรงแรม โดยวัดเป็นมูลค่าหรือเปอร์เซ็นต์ของการเข้าพักทั้งหมด

BUR

ราคาที่ดีที่สุดที่ไม่จำกัด (ตัวอย่างเช่น: ใช้ใน Accorhotels.com)

CSS

Cascading Style Sheets (CSS) คือภาษาสไตล์ชีต ที่อธิบายวิธีการแสดงองค์ประกอบต่างๆ ของภาษา HTML บนหน้าจอ เช่น การออกแบบ สี หรือการจัดวางหน้าจอ สำหรับอุปกรณ์และขนาดหน้าจอที่แตกต่างกัน เป็นต้น

CTA

การกระตุ้นให้ดำเนินการ (Call to action หรือ CTA) คอนเทนต์หนึ่งๆ ซึ่งโดยทั่วไปมักจะเป็นปุ่ม โดยมีจุดประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้ชม ผู้อ่าน หรือผู้ฟังดำเนินการอะไรบางอย่าง โดยทั่วไปจะอยู่ในรูปแบบของคำสั่ง คำชักชวน หรือคำแนะนำ (เช่น "จองเลย" หรือ "คลิกที่นี่" เป็นต้น)

แคมเปญ

ลำดับขั้นตอนและกิจกรรมเชิงกลยุทธ์ที่ช่วยโฆษณาผลิตภัณฑ์หรือบริการของบริษัท ตามเป้าหมายเฉพาะที่ตั้งไว้

นโยบายการยกเลิก

ชุดของกฎ (set of rules) ที่โรงแรมมีการบังคับใช้ ในกรณีที่มีการยกเลิกการจอง โดยนโยบายการยกเลิกจะถูกกำหนดไว้ที่ระดับของที่พักทั้งหมด หรือในบางวันของสัปดาห์ ฤดูกาล และเป็นไปตามตามแผนราคา หรือราคาส่งเสริมการขาย

ระเบียนชื่อตามกฎ (หรือที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า Cname record)

ระเบียนชื่อตามกฎ (canonical name record) จะจับคู่ชื่อโดเมนหนึ่งกับอีกชื่อโดเมนหนึ่ง

ราคาเพดาน (Ceiling Rate)

ราคารายวันหรือต่อคืนสูงสุดที่ยอมรับได้ ซึ่งจะถูกเรียกเก็บจากการจองแต่ละรายการ โดยไม่คำนึงถึงเงื่อนไข ความต้องการ หรือผลตอบแทน การกำหนดราคาเพดานสามารถป้องกันการรับรู้ราคาที่เพิ่มสูงเกินควรในช่วงสภาวะตลาดที่รุนแรง โดยที่ต้นทุนการดำเนินงาน และงบประมาณรายได้ของที่พัก ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดราคาเพดาน

การดำเนินการกลางด้านค่าคอมมิชชัน (Central Commission Processing)

การจ่ายค่าคอมมิชชันแบบรวมศูนย์ ให้กับตัวแทนท่องเที่ยวทั่วโลกในสกุลเงินของประเทศนั้นๆ

สำนักงานกลางเพื่อการสำรองห้องพัก (Central Reservation Office หรือ CRO)

ดำเนินงานโดยบริษัทโรงแรมจำนวนหนึ่ง เพื่อดำเนินการจองทางโทรศัพท์ฟรี รวมไปถึงการจองทางอิเล็กทรอนิกส์ การดำเนินการด้านการตลาด และการบริการอื่นๆ

ระบบการจองห้องพักส่วนกลาง (Central reservation system หรือ CRS)

CRS คือเทคโนโลยีที่บริษัทโรงแรมมักใช้ในการเชื่อมต่อและขายห้องพักผ่านระบบการจองเบ็ดเสร็จ (GDS), ศูนย์ติดต่อลูกค้า, OTA, อินเทอร์เน็ต, รวมถึงเทคโนโลยีที่ใช้โดยตัวแทนขายการจองห้องพักในโรงแรมและอินเทอร์เฟซ PMS ส่วนใหญ่จะมีกลุ่มและเครือโรงแรมเป็นผู้ใช้

รหัสเครือโรงแรม (Chain Code) / รหัสเครือโรงแรมระบบการจองเบ็ดเสร็จ (GDS chain code)

รหัสสองตัวอักษรที่ใช้ในระบบ GDS เพื่อระบุเครือโรงแรม HEDNA เป็นผู้จัดการรายการรหัสเครือโรงแรม ตัวอย่างเช่น:

  • GDS โดย SiteMinder: GD

  • โรงแรม Accor: RT

  • โรงแรม Hilton: HH

  • โรงแรม รีสอร์ต และห้องชุด Marriott: MC

  • โรงแรมและรีสอร์ต Renaissance: BR

  • Courtyard by Marriott: CY

  • โรงแรมเรดิสัน: RD

การจัดการช่องทาง (Channel management)

การควบคุมการจัดสรรอินเวนทอรีและราคาห้องพักของโรงแรม ผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายห้องพักทั้งหมด รวมถึงเว็บไซต์ บุคคลภายนอก และระบบการจองเบ็ดเสร็จ (GDS) โซลูชันในการจัดการช่องทางที่มีประสิทธิภาพควรลดต้นทุนค่าแรงและปรับปรุงประสิทธิภาพ ด้วยการมอบวิธีการแบบรวมศูนย์เพื่อควบคุมช่องทางหลายๆ ช่อง

ผู้จัดการช่องทาง (Channel manager)

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการวางแผนและการจัดจำหน่ายจำนวนห้องว่างและราคาห้องพัก ผ่านช่องทางการขายต่างๆ เพื่อให้มั่นใจว่ามีอัตราเข้าถึงผู้ที่อาจเป็นลูกค้าได้สูงสุดและเพื่อหลีกเลี่ยงการจองเกินจำนวน อินเวนทอรีของที่พักจำเป็นต้องได้รับการอัปเดตอย่างต่อเนื่อง ผ่านช่องทางการกระจายห้องพักทั้งหมดที่ตนใช้บริการอยู่ ซึ่งรวมไปถึงการจองออนไลน์โดยตรง ผู้ค้าส่งด้านการท่องเที่ยว ศูนย์ติดต่อลูกค้า และ OTA

อัตราการยกเลิกสมาชิก (Churn/Churn rate)

อัตราการยกเลิกสมาชิก หรือที่เรียกว่า อัตราการสูญเสียลูกค้า (rate of attrition / customer churn) คืออัตราที่ลูกค้าหยุดทำธุรกิจกับองค์กรหนึ่งๆ

CTA (ปิดรับจองห้องพักในวันเช็กอิน)

ปิดรับจองห้องพักในวันเช็กอิน (CTA) คือข้อจำกัดในการจองที่ใช้เพื่อไม่อนุญาตให้มาถึง/เช็กอินในวันใดวันหนึ่ง

CTD (ปิดรับจองห้องพักในวันเช็กเอาต์)

ปิดรับจองห้องพักในวันเช็กเอาต์ เป็นข้อจำกัดในการจองที่ใช้เพื่อไม่อนุญาตให้ออกเดินทาง/เช็กเอาต์ในวันใดวันหนึ่ง

ค่าคอมมิชชัน

การชำระเงินที่ตัวแทนการท่องเที่ยวได้รับจากซัพพลายเออร์สำหรับการขายการขนส่ง ที่พัก หรือบริการอื่น ๆ

โรงแรมที่อยู่ในกลุ่มการแข่งขัน (หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Comp. set)

กลุ่มคู่แข่งโดยตรงของโรงแรม

หมายเลขยืนยัน

รหัสตัวอักษร ตัวเลข หรือตัวอักษรผสมตัวเลข ที่ใช้ในการระบุและบันทึกการจอง เช่น การจองโรงแรม การจองการเดินทางทางอากาศ หรือการจองรถยนต์ เป็นต้น

กลุ่มบริษัท/กลุ่มบุคคล

โดยทั่วไปหมายถึง กลุ่มขององค์กร บริษัท และ/หรือบุคคล ที่รวมตัวกันเพื่อบรรลุประโยชน์ทางธุรกิจและสร้างอำนาจในการซื้อร่วมกัน บางครั้งกลุ่มบริษัทจะเรียกว่า “ทีเอ็มซี” (TMC) หรือบริษัทจัดการการท่องเที่ยว การดูราคากลุ่มบริษัท/กลุ่มบุคคลที่ทำสัญญาใน GDS จะถูกจำกัดสำหรับตัวแทนท่องเที่ยวที่ใช้รหัสอนุญาตเท่านั้น

อัตราคอนเวอร์ชัน

อัตราที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์กลายมาเป็นลูกค้าที่ชำระเงิน

พนักงานต้อนรับ

พนักงานโรงแรมที่มีหน้าที่ช่วยเหลือผู้เข้าพัก เช่น การจองทัวร์ การจองร้านอาหาร เป็นต้น

รหัสองค์กร (Corporate ID)

รหัสระบุที่ไม่ซ้ำกันที่ใช้ในการจองราคาที่ตกลงไว้ล่วงหน้าได้อย่างแน่นอน รหัสเหล่านี้ถูกกำหนดและขอรับจากบริษัทแต่ละแห่ง และบางครั้งอาจไม่สามารถใช้ได้เนื่องจากเกิดการซ้ำซ้อนในระบบ GDS บางระบบ

ราคาสำหรับองค์กร (Corporate Rate)

โดยทั่วไปแล้วคือราคาห้องพักแบบลดราคา ซึ่งมักจะเสนอให้สำหรับ "วันทำการ" (business-days) บางวันเป็นการเฉพาะ เช่น มีผลเฉพาะวันอาทิตย์ถึงวันพฤหัสบดีเท่านั้น ซึ่งได้ตกลงกันเป็นการเฉพาะ ระหว่างโรงแรมกับธุรกิจ/องค์กรที่จองห้องพักบ่อยๆ ราคาแบบนี้อาจเป็นประโยชน์กับธุรกิจต่างๆ เนื่องจากช่วยประหยัดเงินให้กับพนักงานและผู้เข้าพักที่เข้าพักได้ ขณะที่โรงแรมก็ได้รับประโยชน์จากการจองที่แน่ใจได้ว่าจะเกิดขึ้น โดยบางครั้งอาจจำเป็นต้องรักษาโควตาประจำปีด้วย เพื่อรักษาระดับส่วนลดเอาไว้

ต้นทุนต่อการคลิก (CPC หรือ Cost per click หรือเรียกอีกอย่างว่าจ่ายต่อคลิก)

รูปแบบการโฆษณาทางอินเทอร์เน็ตที่ใช้เพื่อนำทางไปยังเว็บไซต์ โดยผู้โฆษณาจะจ่ายเงินให้กับผู้เผยแพร่ เมื่อคนคลิกที่โฆษณานั้นๆ

CPOR

ต้นทุนต่อห้องพักที่มีผู้เข้าพัก (Cost Per Occupied Room) ซึ่งใช้วิเคราะห์ว่าค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของแต่ละห้องนั้นสร้างกำไรหรือไม่

CRM

โปรแกรมจัดการด้านลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management) - ชื่อที่ใช้เรียกโปรแกรมที่ซับซ้อน ที่ช่วยรักษาความสัมพันธ์อันใกล้ชิดและยั่งยืนระหว่างบริษัทกับลูกค้า เช่น ระหว่างโรงแรมกับผู้เข้าพัก เป็นต้น

CTR

อัตราการคลิกผ่าน (Click-through rate) เป็นตัวชี้วัดที่ใช้วัดประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณาออนไลน์ โดยการคำนวณอัตราส่วนของการคลิกโฆษณา ต่อจำนวนครั้งที่โฆษณาแสดงหรือถูกเปิดดู โดยจะแสดงตัวเลขเป็นเปอร์เซ็นต์ และเป็นตัวบ่งชี้สำคัญว่าโฆษณาดังกล่าวสามารถดึงดูดความสนใจของผู้ใช้ได้ดีมากน้อยเพียงใด

CUG (กลุ่มผู้ใช้ปิด หรือ Closed User Group)

CUG ได้รับการนิยามว่าเป็นกลุ่มบุคคลเฉพาะที่ได้ลงทะเบียนหรือมีคุณสมบัติเป็นสมาชิก ผ่ารการดำเนินการด้วยตนเอง โดยที่การสื่อสารจะถูกจำกัดเอาไว้เฉพาะกลุ่มนี้เท่านั้น ซึ่งอาจจำเป็นต้องใช้การเข้าสู่ระบบและรหัสผ่าน และ/หรือรหัสการเข้าถึงพิเศษ เพื่อไม่ให้สาธารณชนทั่วไปสามารถมองเห็นหรือจองข้อเสนอส่งเสริมการขายในการสื่อสารนั้นๆ ได้ ทั้งนี้อาจจำเป็นต้องแสดงหลักฐานการเป็นสมาชิกเมื่อทำการเช็กอินด้วย ข้อเสนอที่ให้กับ CUG จะไม่สามารถลงโฆษณาในสิ่งพิมพ์ทั่วไป ที่เผยแพร่ออกไปภายนอกกลุ่ม CUG ได้ ดูเพิ่มเติม: ความเท่าเทียมของราคา

การแปลงสกุลเงิน

กระบวนการแปลงสกุลเงินหนึ่งไปเป็นสกุลเงินที่ใช้งานได้ของอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งจะเป็นไปตามราคาแลกเปลี่ยนในขณะนั้น

วันก่อนเดินทางมาถึง (Days Before Arrival หรือ DBA)

วันก่อนเดินทางมาถึง ซึ่งเป็นจำนวนวันตามปฏิทินที่เหลืออยู่ ก่อนวันที่การจองได้รับการยืนยันไว้ว่าจะเช็กอิน โดยที่ DBA มักใช้ในแผนราคาที่มีข้อกำหนดการยกเลิก และการชำระเงินล่วงหน้าที่ชัดเจน เพื่อระบุว่ากฎเกณฑ์เหล่านั้นจะนำไปใช้ในจุดใด ตัวอย่าง: ต้องชำระเงินเต็มจำนวน 30 วันก่อนเดินทาง

การกำหนดราคาจากอุปสงค์ (DBP)

ในอุตสาหกรรมการบริการ อาจไม่จำเป็นต้องกำหนดราคาบริการอย่างถาวรก็ได้ เพราะอาจปรับเปลี่ยนได้ตามจำนวนห้อง อาหาร ฯลฯ ที่ลูกค้าต้องการในแต่ละช่วงเวลา การกำหนดราคาตามอุปสงค์ หมายความว่า ราคาของสิ่งของต่างๆ จะเปลี่ยนไปตามอุปสงค์ที่มีอยู่ในช่วงเวลาหนึ่งๆ

ดีล

การซื้อที่ได้กำไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการซื้อที่ได้มาในราคาที่ต่ำกว่าปกติ ถือเป็นเครื่องมือการตลาดที่ใช้ดึงดูดความสนใจให้กับแผนราคาบางอย่าง ที่เสนอห้องพักพร้อมส่วนลดและข้อเสนอพิเศษ

เส้นอุปสงค์

เส้นอุปสงค์คือความลาดชันเชิงลบที่สะท้อนความสัมพันธ์ผกผันระหว่างราคาเฉลี่ยรายวัน (ADR) กับจำนวนห้องที่ขาย โดยที่ความลาดชันของเส้นอุปสงค์จะแสดงถึงความยืดหยุ่นด้านราคาของอุปสงค์ในการเข้าพักโรงแรม ความยืดหยุ่นของราคามีคำนิยามในเชิงปริมาณว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงร้อยละของปริมาณความต้องการ หารด้วยการเปลี่ยนแปลงร้อยละของราคา

การคาดการณ์ความต้องการ

การคาดการณ์ว่าความต้องการในอนาคตจะมีมากเพียงใด เพื่อช่วยสร้างกำไร..

ข้อมูลประชากร

ข้อมูลประชากรเกี่ยวข้องกับรูปแบบการสร้างโปรไฟล์ผู้เข้าพัก ที่ผู้จัดการฝ่ายการตลาดและรายได้ของโรงแรมใช้ เพื่อแบ่งกลุ่มและทำความเข้าใจลูกค้า โดยที่องค์ประกอบทางด้านประชากรอาจได้แก่ อายุ เพศ ระดับรายได้ อาชีพ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ขนาดครัวเรือน การเดินทาง และพฤติกรรมความชอบที่เกี่ยวกับการซื้อสินค้า ข้อมูลนี้ควรเป็นแบบไม่เปิดเผยตัวตน และโรงแรมจะใช้ข้อมูลนี้ในการปรับแต่งกลยุทธ์การตลาด สิ่งอำนวยความสะดวก และบริการให้ตรงตามความต้องการของกลุ่มลูกค้า หรือเพื่อดูว่ายังมีข้อบกพร่อง ณ จุดใดในการดึงดูดกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ

การปฏิเสธ

การปฏิเสธเป็นการตอบสนองที่เกิดขึ้นเมื่อโรงแรมไม่สามารถรองรับผู้เข้าพักได้ เนื่องจากไม่มีผลิตภัณฑ์ หรือบริการตามราคาที่ลูกค้าต้องการ การรวบรวมและวิเคราะห์ "ข้อมูลการปฏิเสธ" ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ในการคาดการณ์และกำหนดราคา ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของวินัยการจัดการรายได้ที่มีประสิทธิภาพโดยรวม

มัดจำ

จำนวนเงินหรือเปอร์เซ็นต์ที่ระบุไว้ในยอดรวมใบเรียกเก็บเงิน ที่ต้องชำระให้กับโรงแรมในวันที่ที่ระบุก่อนที่จะเดินทางมาถึง หรือภายในจำนวนวันที่กำหนดก่อนที่จะเดินทางมาถึง

ราคาที่ได้รับมา (Derived rates)

ราคาที่ได้รับมาเป็นวิธีการปรับราคาที่มีประสิทธิภาพ โดยสามารถออกแบบราคาที่ได้รับมาให้สามารถบวกหรือลบ (หรือสามารถคงไว้เท่าเดิมก็ได้) เข้าไปที่ราคาฐานด้วยจำนวนที่เป็นตัวเลขหรือเป็นเปอร์เซ็นต์ เฉพาะราคาฐานเพียงตัวเดียวเท่านั้นที่จะต้องได้รับการอัปเดต จากนั้นราคาที่ได้รับมาจากราคาฐานตัวดังกล่าวก็จะปรับไปเองตามกฎที่ใช้

แผนราคาส่วนลด

โดยทั่วไปแล้วแผนราคาส่วนลดจะเป็นราคาที่มีให้ใช้ถาวร ซึ่งมักมีส่วนลดคงที่ (เป็นจำนวนเงิน / เปอร์เซ็นต์) หากตรงตามเงื่อนไขที่ตั้ง ตัวอย่างเช่น อาจมีการสร้างราคาการซื้อล่วงหน้าหรือราคาห้องพักแบบไม่คืนเงิน สำหรับผู้เข้าพักที่ยินดีชำระเงินล่วงหน้า ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการเช็กอินที่โรงแรมและลดความเสี่ยงของการไม่มาแสดงตัว (no-shows)

การแทนที่ (Displacement)

ต้นทุนการแทนที่ (Displacement cost) หมายถึง รายได้ที่อาจเกิดขึ้นที่สูญเสียไปให้กับองค์กร หรือถูกแทนที่ ซึ่งเกิดขึ้นจากการยอมรับธุรกิจเพียงชิ้นเดียวแทนโอกาสแข่งขัน เมื่อโรงแรมตกรับกลุ่มให้เข้าพัก โรงแรมอาจต้องปฏิเสธปริมาณบางส่วนที่จะได้จากธุรกิจที่ไม่ได้อยู่ในรูปของกลุ่ม

อินเวนทอรีที่สูญค่า

คำศัพท์ดังกล่าวบ่งถึงแนวทางปฏิบัติ (ในอดีต) ของการลดราคาห้องพักในโรงแรมหรือที่นั่งบนเครื่องบินในนาทีสุดท้าย เพื่อให้แน่ใจว่าโรงแรมหรือเครื่องบิน จะมีผู้จองเต็มความจุในคืน/เที่ยวบินนั้นๆ

ช่องทางจัดจำหน่าย

ดู ช่องทางการจอง

กลยุทธ์การจัดจำหน่าย

การกำหนดว่าจะจำหน่ายห้องพักในช่วงเวลาใดและผ่านช่องทางใดบ้าง ตามค่าใช้จ่ายในการหาลูกค้าให้ได้มาของแต่ละช่องทาง การผลักดันธุรกิจให้ใช้ช่องทางในการหาลูกค้าให้ได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำในช่วงที่มีอุปสงค์สูง จะทำให้โรงแรมสามารถทำกำไรได้สูงสุด

ความย้อนแย้งของราคา

ในแง่ของการจัดการรายได้ของโรงแรม ความย้อนแย้งของราคาหมายถึงแนวโน้มของการจองที่ไม่สอดคล้องกัน หรืออาจมีพฤติกรรมในทิศทางตรงกันข้าม ในเมื่อปกติแล้วมักจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ตัวอย่างเช่น หากความคืบหน้าการสร้างรายได้ (pace of revenue) จากการจองห้องพักในวันใดวันหนึ่งในอนาคตลดลงอย่างรวดเร็ว แต่สำหรับวันเดียวกันนั้นจำนวนห้องต่อคืน (room nights) กลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ลักษณะนี้ถือว่าเป็นความย้อนแย้งกันของราคา ในกรณีเช่นนี้ที่จำนวนห้องต่อคืนสูงกว่าปกติแต่รายได้ที่เกี่ยวข้องกลับทำได้ต่ำกว่าปกติ อาจเป็นเพราะว่า ราคา/แผนราคา/ราคาโปรโมชันต่ำเกินไป

ห้องพักรวม

ห้องพักแบบรวมที่มีหลายเตียง ห้องพักรวมจะจำหน่ายเป็น "ต่อเตียง" ซึ่งตรงกันข้ามกับ "ต่อห้อง"

แพ็กเกจแบบไดนามิก

กระบวนการจองห้องพักออนไลน์ ที่จะประกอบไปด้วยราคาห้องพักในโรงแรมตามความต้องการ รวมไปถึงเที่ยวบินและองค์ประกอบอื่นๆ ของแพ็กเกจที่ไม่ใช่ส่วนของโรงแรม เช่น การเช่ารถ บริการทัวร์ เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วคำนี้มักเป็นคำที่ใช้เพื่ออธิบายความสามารถของลูกค้าที่จะสร้างแพ็กเกจของตนเอง โดยเลือกองค์ประกอบของแพ็กเกจในขณะที่ตนเลือกซื้อสินค้า โดยที่ผู้ขายอาจไม่จำเป็นต้องแสดงราคาองค์ประกอบแต่ละรายการให้ผู้ซื้อเห็นก็ได้

การกำหนดราคาแบบไดนามิก

เรียกอีกอย่างว่าการกำหนดราคาตามสภาพคล่อง ตามตลาด หรือตามความต้องการ เนื่องจากราคาต่างๆ จะเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการที่คาดการณ์ไว้ แทนที่จะรักษาราคาให้คงที่ โดยที่ราคาต่างๆ ที่ได้จากกลยุทธ์การกำหนดราคาอัตโนมัติ จะรับมาจากราคาฐาน จากนั้นจะปรับเปลี่ยนขึ้นลงไปตามการตั้งค่าเชิงกลยุทธ์ที่กำหนดเอาไว้ ซึ่งราคาแบบไดนามิกนี้มักจะกระจายผ่านผู้จัดการช่องทางจากระบบการจัดการโรงแรม

Early bird

โปรโมชันที่ใช้ได้เฉพาะกับการจองล่วงหน้าเท่านั้น โดยมักมีข้อกำหนดว่าต้องจองล่วงหน้าก่อนเข้าพักกี่วัน และส่วนใหญ่จะเป็นราคาที่ได้รับส่วนลดแบบมีข้อจำกัด

การส่งอีเมลถึงลูกค้าโดยตรง (EDM)

การตลาดข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์/การตลาดผ่านอีเมล (Electronic Data Marketing/Email marketing) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อบริษัทใช้อีเมลเพื่อส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์หรือบริการของตน หรือเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าเก่า/ผู้ที่เคยมาพัก

EMEA

ตัวย่อสำหรับยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา

ETA

เวลาที่คาดว่าจะเดินทางมาถึง (Estimated time of arrival) เป็นเวลาที่ผู้เข้าพักคาดว่าจะเดินทางมาถึงเพื่อเข้าเช็กอิน

การเข้าพักระยะยาว

เมื่อแขกเข้าพักที่โรงแรมเกินห้าวันติดต่อกัน โรงแรมเหล่านี้จะเสนอราคาเป็นรายสัปดาห์

ราคาสำหรับผู้เข้าพักเพิ่ม/ ค่าธรรมเนียมผู้เข้าพักเพิ่ม

หากมีผู้เข้าพักเพิ่มเกินจำนวนผู้เข้าพักที่กำหนดต่อห้อง จะมีการคิดค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมในราคาห้องพัก

เอ็กซ์ทราเน็ต

การเชื่อมต่อที่ปลอดภัยระหว่างอินทราเน็ตสองแห่งขึ้นไป ซึ่งมักจะเกิดขึ้นระหว่างบริษัทต่างๆ ปกติแล้วเอเจนซีออนไลน์มักใช้เอ็กซ์ทราเน็ตเพื่อให้โรงแรมรักษาราคาและห้องว่างได้

F&B

F&B เป็นตัวย่อของคำว่าอาหารและเครื่องดื่ม (Food & Beverage) ในที่พัก ที่มีร้านอาหารเสนอ

ทัวร์ทำความรู้จัก (Fam)

โปรแกรมเดินทางราคาฟรีหรือลดราคา หรือไม่มีค่าใช้จ่ายเลยสำหรับตัวแทนท่องเที่ยว ตัวแทนขายประจำศูนย์บริการลูกค้า และ/หรือพนักงานสายการบิน ซึ่งออกแบบมาเพื่อให้บุคลลเหล่านั้นคุ้นเคยกับโรงแรมหรือจุดหมายปลายทางเฉพาะ เพื่อกระตุ้นยอดขายของพวกเขา

F.I.T

คำย่อสำหรับกลุ่มนักเดินทางที่เรียกกันว่า "นักเดินทางอิสระ" (Free Independent Travellers) หรือ "นักเดินทางต่างชาติรายบุคคล" (Foreign Individual Traveler) หรือ "นักเดินทางอิสระเต็มรูปแบบ" (Fully Independent Traveller)

คุณสมบัติ

ลักษณะเด่นของผลิตภัณฑ์ โซลูชัน หรือบริการที่ช่วยดึงดูดความสนใจของกลุ่มผู้ซื้อเป้าหมาย และอาจนำมาใช้ในการกำหนดกลยุทธ์การตลาดผลิตภัณฑ์ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การทำให้กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายเห็นถึงประโยชน์ของผลิตภัณฑ์

คำติชม

ข้อมูลเกี่ยวกับความเห็นที่มีต่อผลิตภัณฑ์ การปฏิบัติงานของบุคคล ฯลฯ ซึ่งจะใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการปรับปรุงสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้นได้

มีข้อจำกัด (Fenced)

ราคาซึ่งสถานที่พักใช้ในการนำเสนอตัวเลือกในการเข้าพักแบบต่างๆ ให้แก่ผู้เข้าพัก ราคาดังกล่าวจะกำหนดโดยข้อจำกัดที่ผู้เข้าพักยอมรับ ซึ่งอาจรวมถึงการจองที่ไม่สามารถคืนเงินได้และที่ไม่สามารถยกเลิกได้ การจองที่ต้องชำระเงินล่วงหน้า และการเข้าพักตลอดช่วงสุดสัปดาห์

การกำหนดข้อจำกัด (Fencing)

การใช้ข้อจำกัดบางอย่าง (เช่น ระยะเวลาเข้าพักขั้นต่ำ ข้อกำหนดให้ชำระเงินล่วงหน้า) เพื่อกรองการจองตามวันที่และ/หรือประเภทห้อง ที่อาจมีความต้องการมากเกินไปในบางช่วง ซึ่งเมื่อพูดถึงการจัดการรายได้ของโรงแรม มักมีการสลับใช้คำว่า "ตัวกรอง" และ "ข้อจำกัด" อยู่เสมอ

แฟลชเซลล์ (Flash sales)

การลดราคาเพื่อส่งเสริมการขายที่ที่พักเสนอให้ในช่วงนาทีทอง ซึ่งลูกค้าสามารถซื้อได้ในช่วงเวลาที่จำกัดเอาไว้เท่านั้น

ราคาขั้นต่ำ (Floor rate)

ราคาที่ต่ำที่สุดที่ยอมรับได้ต่อวันหรือต่อคืน ซึ่งจะถูกเรียกเก็บจากการจองแต่ละรายการ โดยไม่คำนึงถึงเงื่อนไข ความต้องการ หรือผลตอบแทน ต้นทุนการดำเนินงานและงบประมาณรายได้ของที่พักเป็นปัจจัยในการกำหนดราคาขั้นต่ำ

โฟลิโอ (Folio)

โฟลิโอคือใบเรียกเก็บค่าใช้จ่ายและการชำระเงินที่เกิดขึ้นหรือก่อขึ้นโดยผู้เข้าพัก หรือลูกค้าที่เป็นกลุ่มบริษัท หรือลูกค้าในองค์กร ฯลฯ

โมเดลการคาดการณ์

รูปแบบทางสถิติที่ใช้ในการคาดการณ์อุปสงค์ จำนวนผู้เข้าพัก และรายได้

การขายห้องพักแบบไม่จำกัด

การขายห้องพักแบบไม่จำกัดเป็นตัวเลือกที่ยอดเยี่ยมในการจำหน่ายห้องพักในราคาตามที่ตกลงไว้ (ลดราคา) ในแบบที่ "สร้างกำไรได้" เนื่องจากราคาตามสัญญาอาจเปิดและปิดตามอุปสงค์ที่คาดการณ์ไว้ ห้องพักที่ขายภายใต้หลักเกณฑ์การจำหน่ายห้องพักแบบไม่จำกัดนี้ยังคงเป็นไปตามเงื่อนไขราคาและข้อกำหนดในสัญญาที่เกี่ยวข้องทั้งหมด หลักเกณฑ์เหล่านี้ใช้รหัสเข้าสู่ระบบแบบกลุ่มที่ "ยืดหยุ่น" ใน Opera PMS

ราคาเต็ม (อาจเรียกอีกอย่างว่าราคาแร็คหรือ Rack Rate)

ราคาเต็มของห้องที่เผยแพร่ ราคาเต็มอาจเรียกอีกอย่างว่าราคาแบบ Rack Rate สำหรับวัตถุประสงค์ในการขายส่งและการจัดทำสัญญา OTA ราคาเต็มหรือราคาปกติมักจะเป็นราคาตัวตั้งที่นำมาใช้เจรจาส่วนลด โดยทั่วไปจะเป็นค่าธรรมเนียมสูงสุดที่ที่พักเรียกเก็บสำหรับห้องพัก

ระยะเวลาการเข้าพักเต็มรูปแบบ/แบบคงที่ (FPLOS)

รูปแบบการกำหนดราคาที่บ่งบอกให้ทราบว่าราคาเปิดไว้ (ว่าง) สำหรับวันที่เดินทางมาถึงและระยะเวลาเข้าพักดังกล่าวหรือไม่ ซึ่งจะคำนวณและปรับใช้โดยระบบการบริหารรายได้อัตโนมัติ (IDeaS, Duetto, EzRMS เป็นต้น)

การเข้าใช้ห้องจัดงาน

เป็นการวัดว่าโรงแรมใช้พื้นที่ของห้องจัดงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด โดยจะบันทึกเป็นเปอร์เซ็นต์การเข้าใช้ สูตร: พื้นที่ห้องจัดงานที่ถูกใช้งานทั้งหมดหารด้วยพื้นที่ของห้องจัดงานที่สามารถใช้ได้ทั้งหมดโดยวัดเป็นตารางฟุต/เมตร

ฟันเนล

แบบจำลองการเดินทางของลูกค้า ซึ่งจะแสดงขั้นตอนการซื้อที่ผู้คนต้องผ่าน หลังจากรับทราบถึงธุรกิจ บริการ หรือผลิตภัณฑ์

ข้อบังคับทั่วไปเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูล (General data protection regulation หรือ GDPR)

ข้อบังคับผูกมัดที่บังคับใช้กับผู้ให้บริการที่พักทุกราย ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม หากผู้ให้บริการเหล่านั้นเสนอบริการแก่ลูกค้าชาวยุโรป

ตัวแทนขายทั่วไป (GSA)

บุคคลหรือบริษัทที่ทำสัญญากับเครือโรงแรมเพื่อทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์เครือโรงแรมดังกล่าวในเมืองหรือประเทศที่เครือโรงแรมดังกล่าวไม่มีสำนักงานตั้งอยู่ ในบางกรณี ตัวแทนขายทั่วไปจะรับจองโรงแรมด้วย

การเข้ารหัสทางภูมิศาสตร์

กระบวนการในการทำดัชนีตำแหน่งที่ตั้งโดยใช้องศาลองจิจูดและละติจูด

GHA

กลุ่มพันธมิตรโรงแรมทั่วโลก

ระบบการจองเบ็ดเสร็จ (GDS)

เครือข่ายการจองผ่านคอมพิวเตอร์เหล่านี้ช่วยให้ผู้ใช้ เช่น ตัวแทนท่องเที่ยว พนักงานสายการบิน หรือผู้เดินทาง สามารถดูข้อมูลบริการท่องเที่ยวต่างๆ ได้อย่างหลากหลายรอบด้าน รวมทั้งตั๋วเครื่องบิน โรงแรม บริการเช่ารถยนต์ และบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง GDS บางระบบอาจเสนอบริการแก่ผู้ใช้ทั่วโลก (เช่น Amadeus, Galileo International, Sabre) ในขณะที่บางระบบครอบคลุมในระดับภูมิภาคหรือระดับประเทศเท่านั้น บริการออนไลน์และอินเตอร์เน็ตนั้นได้รับการยอมรับว่าเป็นระบบ GDS ประเภทหนึ่งมากขึ้นเรื่อยๆ

GNR

ระเบียนชื่อผู้เข้าพัก

Google Analytics

บริการที่เป็นของ Google ที่จะสร้างข้อมูลสถิติโดยละเอียดเกี่ยวกับการเข้าชมเว็บไซต์และแหล่งที่มาของการเข้าชม รวมถึงวัดอัตราคอนเวอร์ชัน (อัตราของผู้ที่เข้ามาชมเว็บไซต์และกลายเป็นลูกค้า) และยอดขายต่างๆ

อัตราส่วนกำไรขั้นต้น

ตัวเลขที่คุณได้มาหลังจากหารกำไรขั้นต้นด้วยยอดขายสุทธิ

GOP

กำไรขั้นต้นจากการดำเนินงาน จริงๆ แล้วคือหัวใจสำคัญที่สุดด้านการเงินนั่นเอง ซึ่งก็คือรายได้ทั้งหมดจากการดำเนินงานลบด้วยต้นทุนทั้งหมดของสินค้าที่ขาย

GOPPAR

กำไรขั้นต้นจากการดำเนินงานต่อห้องว่าง หรือ GOPPAR คำนวณโดยรายได้ห้องพักลบด้วยค่าใช้จ่ายหารด้วยจำนวนห้องพักทั้งหมด

การจองแบบหมู่คณะ

การจองห้องพักหลายห้องหรือสำหรับผู้เข้าพักหลายคนที่เดินทางมาด้วยกัน ซึ่งอาจต้องเรียกเก็บเงินเป็นกลุ่ม

ราคาสำหรับหมู่คณะ

ส่วนลดสำหรับผู้เข้าพักที่มาเป็นกลุ่มใหญ่

การจองห้องพักแบบมีประกัน

การจองห้องพักพร้อมประกันการชำระเงิน โดยปกติแล้วการจองห้องพักจะต้องใช้บัตรเครดิตในขณะที่ทำการจอง หรือต้องวางมัดจำในระยะเวลาที่กำหนด โดยที่พักจะรับประกันห้องว่างให้เข้าพัก ซึ่งหากไม่มีห้องว่างเหลืออยู่ ก็จะต้องจัดหาที่พักอื่นที่เทียบเคียงให้

ผู้เข้าพัก

บุคคลที่เข้าพักที่โรงแรม (ลูกค้า ผู้เข้าพักที่ชำระเงิน ผู้เข้าพัก ลูกค้าของโรงแรม ผู้อุปถัมภ์ ฯลฯ)

พฤติกรรมของผู้เข้าพัก

พฤติกรรมของผู้เข้าพักหมายถึง การดำเนินการจองและความต้องการในด้านต่างๆ ของผู้เข้าพัก ซึ่งสามารถจับตาดูได้ก่อน ระหว่าง และหลังการเข้าพัก ทั้งนี้อาจรวมถึงวิธีที่ผู้เข้าพักตัดสินใจว่าจะจองอะไรและจองที่ไหน ลักษณะการโต้ตอบกับเจ้าหน้าที่โรงแรม การใช้สิ่งอำนวยความสะดวก นิสัยการใช้จ่าย คำติชม และรีวิว การทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้เข้าพักถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้จัดการด้านรายได้และการตลาดของโรงแรม เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนากลยุทธ์ ปรับแต่งการบริการ และปรับปรุงประสบการณ์ของผู้เข้าพัก ซึ่งจะนำไปสู่ผลกำไรที่เพิ่มมากขึ้นได้ในที่สุด

HEDNA

สมาคมเครือข่ายการกระจายโรงแรมผ่านระบบอิเล็คทรอนิกส์ เป็นสมาคมการค้าระหว่างประเทศที่ไม่แสวงหากำไร ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยผู้ประกอบการโรงแรม เพื่อส่งเสริมการจองห้องพักในโรงแรมผ่านการใช้ระบบการจองเบ็ดเสร็จ (GDS) หรือเรียกอีกอย่างว่า “ตำรวจจีดีเอส” (GDS police) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลกฎเกณฑ์และนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบการจองเบ็ดเสร็จ

การถือครอง

การจองที่แน่นอนแล้ว (หรือที่ถือครองไว้สำหรับวันที่ในอนาคต) โดยที่บางครั้งเรียกว่า "BOB" (Bookings on the books)

ระบบการชำระเงินผ่านเว็บไซต์

ระบบที่มีหน้าเว็บซึ่งมีการเก็บข้อมูลการชำระเงินอย่างปลอดภัย

เครือ/กลุ่มโรงแรม

โรงแรมที่เป็นส่วนหนึ่งของเครือหรือกลุ่มโรงแรม และดำเนินกิจการภายใต้แบรนด์และระบบบริหารจัดการเดียวกัน

HSMAI

สมาคมการขายและการตลาดด้านการบริการนานาชาติ (Hospitality Sales and Marketing Association International) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 1927 เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมการให้การบริการต้อนรับผ่านการฝึกอบรมและกิจกรรมต่างๆ

อัตราผลตอบแทนขั้นต่ำที่ยอมรับได้

อัตราผลตอบแทนขั้นต่ำที่ยอมรับได้มักเกิดขึ้นในหมู่โรงแรมที่ใช้ RMS (ระบบการจัดการรายได้อัตโนมัติ) อัตราผลตอบแทนขั้นต่ำที่ยอมรับได้คือเกณฑ์ขั้นต่ำที่อนุญาตให้ทำการจองได้ ในกรณีที่มูลค่ารวมของการจองสูงกว่ามูลค่ารวมของราคาขั้นต่ำที่ยอมรับได้ สำหรับระยะเวลาการเข้าพักที่เท่ากันเท่านั้น

ความปลอดภัยภายใต้โปรโตคอลการสื่อสารไฮเปอร์เท็กซ์ (HTTPS)

โปรโตคอลการสื่อสารเข้ารหัสที่ใช้ในการถ่ายโอนข้อมูลอย่างปลอดภัย เช่น ข้อมูลของเว็บไซต์ ระหว่างสองระบบผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (หรืออินเทอร์เน็ต) เป็นต้น

จำนวนผู้เข้าพักที่กำหนด

จำนวนคนที่สามารถเข้าพักในห้องพักได้ในราคาที่โฆษณา

บริการที่รวมในห้องพัก

สิ่งที่รวมอยู่หมายถึงบริการเพิ่มเติม ประสบการณ์ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีให้อยู่แล้วในราคาห้องพักนั้นๆ ซึ่งอาจแตกต่างกันไป เช่น อาหารเช้าฟรี Wi-Fi ที่จอดรถ หรือสิทธิใช้สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ห้องออกกำลังกาย หรือสระว่ายน้ำ เป็นต้น สิ่งที่รวมอยู่ด้วยจัดว่ามีบทบาทสำคัญในการดึงดูดผู้เข้าพัก และมักจะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจจอง เพราะเป็นการมอบมูลค่าเพิ่มให้กับการเข้าพักของผู้เข้าพัก

โรงแรมอิสระ

ทุกโรงแรมที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มหรือเครือโรงแรมใด

การ์ดข้อมูล

เป็นการระบุตัวตนแบบดิจิทัลประเภทหนึ่ง ที่อนุญาตให้ผู้ใช้ควบคุมการแบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคลของตนกับแอปพลิเคชันและบริการของบุคคลที่สาม

การผสานรวม

การซิงโครไนซ์ข้อมูลกับบริษัทซอฟต์แวร์อื่นๆ (เช่น PMS, RMS, แอปพลิเคชันโรงแรม ฯลฯ) เพื่อปรับปรุงแพลตฟอร์ม และมอบประสบการณ์ที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นให้กับลูกค้า

ห้องที่เชื่อมต่อกัน

ห้องที่เชื่อมต่อถึงกันหมายถึงการกำหนดค่าห้องที่ปรับเปลี่ยนได้ โดยมีห้องแยกกันสองห้องขึ้นไปที่เชื่อมต่อกันด้วยประตูที่สามารถล็อกหรือปลดล็อกได้

อินเวนทอรี

คำศัพท์ที่ใช้ในการอธิบายจำนวนห้องพักในโรงแรมและสถานะของห้องพัก ซึ่งได้แก่ ว่าง/จองแล้ว หรือ เปิด/ปิด

ตารางอินเวนทอรี

เป็นตารางสำหรับการจัดการห้องพักที่ว่างในเอกซ์ทราเน็ตของผลิตภัณฑ์นั้น ซึ่งจะแสดงห้องพักที่ว่าง ราคาและบริการหรือสิ่งที่รวมอยู่ในแผนราคา/ราคาห้องพัก

ใบเรียกเก็บเงิน

ใบเรียกเก็บเงินคือคำขอให้ชำระเงินที่โรงแรมออกให้กับบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้วย

คีออสก์

อุปกรณ์ที่ลูกค้าสามารถใช้เช็กอินด้วยตัวเองได้

แลนดิ้งเพจ

เว็บเพจซึ่งทำหน้าที่เป็นจุดเข้าใช้งานสำหรับเว็บไซต์หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของเว็บไซต์

ห้องว่างสุดท้าย (LRA)

ความสามารถของแพลตฟอร์มตัวแทนการท่องเที่ยวหรือขององค์กรในการจองห้องพักห้องสุดท้ายที่ว่างในโรงแรม LRA มีเสนอให้กับบริษัทที่ทำสัญญาไว้กับโรงแรมเท่านั้น

LATAM

คำย่อสำหรับภูมิภาคละตินอเมริกา หมายถึงภูมิภาคที่ประกอบด้วยประเทศในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ และบางครั้งรวมถึงบางส่วนของทะเลแคริบเบียนด้วย ภูมิภาคนี้ครอบคลุมประเทศต่างๆ เช่น บราซิล เม็กซิโก อาร์เจนติน่า โคลอมเบีย และประเทศอื่นๆ อีกมากมาย

ระยะเวลารอคอย

ระยะเวลาตั้งแต่ที่ทำการจองจนถึงวันที่ที่ผู้เข้าพักตั้งใจที่จะมาถึง

ระยะเวลาเข้าพัก (LOS)

จำนวนคืนที่ผู้เข้าพักเข้าพัก/จองที่พัก โดยทั่วไปแล้วควรกระตุ้นให้พักเป็นเวลานานขึ้น (มากกว่าหนึ่งคืน) เนื่องจากจะช่วยลดต้นทุนการดำเนินการและการฟื้นตัว ซึ่งจะทำให้รายรับรวมจากการเข้าพักมีกำไรมากขึ้น

รหัสใบอนุญาต

รหัสใบอนุญาต (คนทั่วไปมักเรียกว่าคีย์ใบอนุญาต) หรือที่เรียกอีกอย่างว่ารหัสผลิตภัณฑ์ คือรหัสเฉพาะ ที่ใช้เปิดใช้งานโปรแกรมซอฟต์แวร์ โดยเป็นรูปแบบหนึ่งของใบอนุญาตดิจิทัลที่จะตรวจสอบว่าผู้ใช้ซอฟต์แวร์ได้ซื้อสำเนาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และมีสิทธิใช้งานซอฟต์แวร์นั้นๆ

รายการห้องพัก

รายการห้องพักคือการโฆษณาเพื่อขายห้องพักในระหว่างช่วงเวลาหนึ่งๆ

ผู้ดูสู่ผู้จอง

หมายถึงการเปลี่ยนผู้ชมสินค้าออนไลน์ให้เป็นผู้ซื้อจริง โดยมักจะสื่อสารในอัตราส่วน

ราคาปล่อยผ่าน

มักเรียกอีกอย่างว่าราคาเดินหนี หมายถึงราคาที่โรงแรมอาจจะรู้สึกดีกว่า หากปล่อยห้องว่างไว้โดยไม่ขายออกไป มากกว่าที่จะขายด้วยราคาที่ถูกเกินไป ทั้งนี้อาจเป็นเพราะโรงแรมคาดหวังที่จะพบกับหมู่คณะที่ดีกว่าในราคาที่สูงพอที่จะยอมเสี่ยงรอเพื่อให้ได้ราคาดังกล่าว สถานการณ์นี้อาจเกิดขึ้นจริง โดยเฉพาะในวันที่ที่ต้องการนั้นอยู่ในฤดูที่มีการจองแบบหมู่คณะสูง และหากยังมีเวลาเหลืออีกพอสมควร สำหรับการจองแบบหมู่คณะในวันและ/หรือช่วงเวลานั้นๆ

ความภักดี

การวัดแนวโน้มที่ลูกค้าจะทำธุรกิจซ้ำกับบริษัทใดหรือแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง

โปรแกรมความภักดี

โปรแกรมการตลาดที่มอบรางวัลให้กับผู้เข้าพัก ที่เป็นลูกค้าประจำ หรือมาพักบ่อยครั้ง โปรแกรมความภักดีอาจเป็นการร่วมมือกันกับโปรแกรมความภักดีของธุรกิจอื่นๆ (เช่น กับสายการบินอย่าง Qantas หรือกับโรงแรมอย่าง Hilton Honors หรือ Marriott Rewards เป็นต้น) ซึ่งโปรแกรมความภักดีนั้นอาจมีการนับจากคะแนน ค่าใช้จ่าย จำนวนวันที่เข้าพัก หรือวิธีการอื่นๆ

กลุ่มตลาด

ส่วนหนึ่งของลูกค้าที่มีลักษณะร่วมกันดังนี้:

  • เหตุผลในการเดินทาง

  • แรงจูงใจ

  • การผสมผสานระหว่างการซื้อที่มีเอกลักษณ์ (เช่น การซื้อล่วงหน้าเทียบกับการซื้อแบบวอล์กอิน) และรูปแบบการใช้งาน (เช่น คืนเดียว หรือเป็นรายสัปดาห์มากกว่า เป็นต้น)

ส่วนบวกเพิ่ม

ค่าความแตกต่างระหว่างราคาขายของซัพพลายเออร์กับราคาที่ผู้ค้าเสนอให้แก่ผู้บริโภค

ระยะเวลาเข้าพักสูงสุด (MaxLOS)

ฟังก์ชันการควบคุมอินเวนทอรีห้องพัก ใช้เพื่อระบุว่าการจองที่จะเดินทางมาถึงในวันที่หนึ่งๆ อาจไม่สามารถขยายเวลาเกินจำนวนวันที่กำหนดเอาไว้ได้

จำนวนผู้เข้าพักสูงสุด

จำนวนบุคคลสูงสุดที่สามารถเข้าพักในห้องนั้นได้

โมเดลผู้ค้า

โมเดลผู้ค้าคือธุรกิจรูปแบบหนึ่ง ที่เว็บไซต์จัดจำหน่ายโรงแรมทางออนไลน์มักจะใช้ รูปแบบธุรกิจนี้กำหนดให้โรงแรมเสนอราคาสุทธิ เพื่อให้ผู้ค้าสามารถบวกส่วนเพิ่มไปที่ราคาเพื่อขายให้กับสาธารณะ ตามปกติแล้วลูกค้าจะต้องชำระเงินค่าเข้าพักโรงแรมล่วงหน้าให้กับเว็บไซต์ดังกล่าวเต็มราคา ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบทางการเงิน

เมตาเสิร์ชเอนจิน

เมตาเสิร์ชเอนจินช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาการเดินทางจากหลายๆ เว็บไซต์จากจุดเดียว และจองราคาที่ดีที่สุดเท่าที่มีอยู่ได้ ตัวอย่างได้แก่ TripAdvisor, Trivago, Google Hotel Finder, Kayak.com, Mobissimo.com, และ SideStep.com

ระยะเวลาเข้าพักขั้นต่ำ (MinLOS)

ฟังก์ชันการควบคุมอินเวนทอรีห้องพัก ระบุว่าการจองเพื่อเดินทางมาถึงในวันที่หนึ่งๆ จะต้องจองเป็นเวลาจำนวนคืนขั้นต่ำที่กำหนด (เช่น สองคืนขึ้นไป) การจองที่มาถึงในวันที่มีข้อจำกัดนี้จะต้องเป็นไปตามหรือเกินค่าที่กำหนดไว้ ข้อจำกัดของ MLOS จะช่วยกรองการเข้าพักระยะสั้นออกไปก่อน แล้วเลือกรับจองห้องพักในระยะยาวแทน ซึ่งจะช่วยให้สามารถทำรายได้ได้มากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่มีความต้องการห้องมาก

จำนวนผู้เข้าพักต่ำสุด

จำนวนผู้เข้าพักขั้นต่ำต่อห้อง

ราคาขั้นต่ำ

ราคาขายห้องที่ถูกที่สุด

ระยะเวลาเข้าพักแบบ Stay Through ขั้นต่ำ (MST)

ข้อจำกัดที่จำกัดจำนวนห้องว่าง โดยระบุจำนวนคืนที่ต้องจอง ซึ่งจะรวมวันที่นั้นๆ ลงในช่วงวันที่ที่เข้าพัก

การกระจายห้องพักหลายช่องทาง

ซึ่งเป็นแนวคิดการขายผลิตภัณฑ์ผ่านหลายๆ ช่องทาง สำหรับโรงแรม อาจหมายถึงผ่านทางโทรศัพท์ อุปกรณ์เคลื่อนที่ อินเทอร์เน็ต สมาร์ตทีวี บริการเว็บแชต/แชตบอตทางออนไลน์ หรือแม้กระทั่งการเข้าใช้บริการแบบวอล์กอิน

ราคาที่ต่อรองแล้ว

คำที่ใช้ในระบบการจองเบ็ดเสร็จ (GDS) เพื่ออธิบายราคาที่ต่อรองโดยบริษัทโรงแรมที่มีลูกค้าเฉพาะ ตัวแทนท่องเที่ยวหรือผู้ใช้ GDS รายอื่นจะไม่ได้รับอนุญาตให้ดูราคาเหล่านี้ใน GDS และราคาดังกล่าวจะสามารถจองได้หลังจากที่ใส่รหัสการอนุญาตของบริษัทหรือของลูกค้าแล้วเท่านั้น

ราคาห้องพัก/ราคาสุทธิ

ตัวเลขที่ได้มาหลังจากที่หักค่าใช้จ่ายออกจากยอดขายรวมของคุณ โดยปกติจะใช้ในการขายห้องพักให้กับช่องทางจัดจำหน่ายของบริษัทภายนอก

รายได้สุทธิต่อห้องว่าง (NRevPAR)

Net RevPAR คือรายได้ห้องพักลบด้วยต้นทุนการกระจายห้องพัก หารด้วยจำนวนหน่วยทั้งหมดที่มีขาย

การตรวจสอบบัญชีตอนกลางคืน (Night audit)

การตรวจสอบบัญชีตอนกลางคืนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการรายได้ เป็นการบันทึกกิจกรรมรายวันทั้งหมด ที่เกิดขึ้นภายในการจองหน้าร้าน และการเงินภายในรอบ 24 ชั่วโมง การตรวจสอบในเวลากลางคืนส่วนใหญ่มักจะดำเนินการภายในระบบการจัดการที่พักหลังเที่ยงคืน ไปจนถึงก่อน 7.00 น.

ไม่แสดงตัว (No-show)

“การไม่แสดงตัว” (no-show) เกิดขึ้นเมื่อผู้เข้าพักที่ได้รับการยืนยันการจองแล้วไม่มาแสดงตัวเพื่อเช็กอิน และไม่ได้ยกเลิกการจองไว้ล่วงหน้า ซึ่งหมายความว่าโรงแรมได้จัดห้องไว้ให้กับผู้เข้าพักแล้ว แต่ผู้เข้าพักกลับไม่มาเข้าพัก ซึ่งอาจมีการเรียกเก็บเงินเต็มจำนวนหรือเก็บบางส่วน โดยขึ้นอยู่กับนโยบายการจองของโรงแรมเป็นหลัก

OBP: การกำหนดราคาตามจำนวนผู้เข้าพัก (Occupancy-based pricing)

เรียกอีกอย่างว่า "การกำหนดราคาตามการเข้าพัก" (pricing by occupancy) การกำหนดราคาตามราคาการเข้าพักเป็นเทคนิคการจัดการรายได้ที่ใช้โดยผู้ให้บริการที่พัก เพื่อเพิ่มรายได้จากห้องพักให้สูงสุดในจุดหมายปลายทางเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับที่พักประเภทโฮสเทล

อัตราการเข้าพัก - โรงแรม

การวัด "การเติมเต็ม" (fill) ของที่พัก โดยอัตราการเข้าพักจะคำนวณจากจำนวนห้องทั้งหมดที่ถูกจองไว้ หารด้วยจำนวนห้องทั้งหมดที่มี แล้วคูณด้วย 100 (ตัวอย่างเช่น ห้องที่ถูกจองไว้ 75 ห้อง ในโรงแรมที่มีห้องทั้ง 100 ห้อง = อัตราการเข้าพัก 75%)

อัตราการเข้าพัก - การล่องเรือ

อัตราการเข้าพักตามแนวทางปฏิบัติของอุตสาหกรรมการล่องเรือพักผ่อน จะคำนวณจากการหารจำนวนวันโดยสารเรือสำราญด้วย APCD โดยที่เปอร์เซ็นต์ที่เกิน 100% บ่งบอกว่ามีผู้โดยสาร 3 คนขึ้นไปเข้าพักในห้องโดยสารบางห้อง

พยากรณ์อัตราการเข้าพัก (Occupancy forecast)

อัตราการเข้าพักแบบมีเงื่อนไข (constrained operational occupancy) ที่ที่พักคาดว่าจะบรรลุผลในช่วงระยะเวลาที่ระบุ โดยค่านี้อาจแสดงเป็นจำนวนห้อง หรือเป็นเปอร์เซ็นต์ของห้องที่ว่างอยู่ก็ได้ และการพยากรณ์อัตราการเข้าพักจะมีค่าไม่เกิน 100%

โมเดลแบบทึบ (Opaque model)

หมายถึงโมเดลธุรกิจที่ผู้บริโภคจะไม่ทราบถึงผลิตภัณฑ์/แบรนด์ที่ตนกำลังจะซื้อจนกว่าจะชำระเงินเรียบร้อยแล้ว ผู้บริโภคทราบราคา แต่ไม่ทราบผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ใช้โมเดลนี้คือโปรแกรม “Wot Hotel” ของ Wotif.com

การกำหนดราคาแบบทึบ (Opaque pricing)

หมายถึงราคาที่ผู้ค้าปลีกหรือบริษัทเมตาเสิร์ชไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ ตัวอย่างเช่น โรงแรมแห่งหนึ่งอาจเสนอราคาพิเศษให้กับสมาชิกคลับ Loyalty/Rewards ของตน ซึ่งเป็นราคาที่จะไม่แสดงบนเว็บไซต์สาธารณะหรือช่องทางการตลาดอื่นๆ

อัตราการเปิด (Open rate)

มาตรวัดการตลาดทางอีเมล ที่ใช้วัดเปอร์เซ็นต์ในการเปิดอีเมล

การสั่งซื้อ (Orders)

การแสดงเจตนาในการซื้อสินค้าหรือบริการ

OTA

ตัวแทนท่องเที่ยวออนไลน์ (Online Travel Agent) เช่น Expedia, Booking.com, Agoda.com) โอทีเอ (OTA) คือบริษัทออนไลน์ที่ให้ลูกค้าจองบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางผ่านทางเว็บ โดยเป็นตัวแทนภายนอกที่จำหน่ายทริปการเดินทาง โรงแรม รถเช่า เที่ยวบิน แพ็กเกจท่องเที่ยว และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

การจองเกินจำนวนจัดสรร

แนวทางปฏิบัติของซัพพลายเออร์ในการรับยืนยันการจองเกินขีดความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นเพราะคาดว่าจะมีการยกเลิก หรือไม่มาแสดงตัว หรือมีข้อผิดพลาดบางอย่างก็ตาม การจองเกินถือเป็นเครื่องมือการจัดการผลตอบแทน (yield management) ที่มีประสิทธิภาพ เมื่อนำไปใช้วัดความสามารถที่คาดการณ์ไว้

OHIP

OHIP (Oracle Hospitality Integration Platform) เป็นโซลูชันการผสานรวมแบบคลาวด์เนทีฟที่นำเสนอโดย Oracle

การแทนที่ (Override)

เพื่อยกเลิก/แก้ไขสิ่งที่ได้กำหนดไว้ก่อนหน้านี้ โดยทั่วไปจะอยู่ในบริบทของข้อจำกัดของโรงแรม หรือระยะเวลาการเข้าพักขั้นต่ำ หรือการตั้งค่าการจัดสรร

OXI

Opera Exchange Interface (อ่านว่าอ๊อกซี) คือเอกสารอ้างอิง OXI ของ Oracle

ความคืบหน้า (Pace)

เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าความคืบหน้าในการจอง (Booking Pace) ความเร็วของการจองที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานับตั้งแต่วันที่จองจนถึงวันที่ที่มาถึง โดยจะแสดงเป็นเศษส่วนของรายการจองที่ได้รับมาล่วงหน้าในวันนั้นๆ การคำนวณความคืบหน้าถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของการคาดการณ์ล่วงหน้า

PAX

“PAX” หมายถึง คน/ผู้เข้าพัก Pax คือตัวย่อสากลของคำว่า “passenger” (ผู้โดยสาร) ซึ่งแทบจะใช้ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเท่านั้น

แพ็กเกจ

แพ็กเกจที่เสนอโดยที่พัก บางครั้งประกอบด้วยห้องพักพร้อมอาหารเช้าเท่านั้น ทว่าบางครั้งก็ประกอบด้วยการขนส่ง ห้องพัก อาหาร สิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬา และองค์ประกอบอื่นๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะที่โรงแรมที่มีรูปแบบเป็นรีสอร์ท

การแบ่งกลุ่มแบบพาสซีฟ (Passive Segment)

นี่คือคำศัพท์ที่ใช้โดยตัวแทนท่องเที่ยวที่ใช้ระบบ GDS ซึ่งตัวแทนท่องเที่ยวจะทำการจองเพื่อวัตถุประสงค์ในการพิมพ์แผนการเดินทางและการออกใบเรียกเก็บเงิน เมื่อตัวแทนได้โทรหาซัพพลายเออร์โรงแรมเพื่อทำการจอง การแบ่งกลุ่มแบบพาสซีฟจะไม่ส่งหรือรับข้อความถึง/จากซัพพลายเออร์ ดังนั้นบางครั้งจึงเรียกว่าการแบ่งกลุ่มแบบไร้ตัวตน (ghost segment)

มาตรฐานการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลของอุตสาหกรรมบัตรชำระเงิน (Payment card industry data security standard หรือ PCI DSS)

การปฏิบัติตามข้อกำหนดของ PCI DSS คือมาตรฐานด้านการรักษาความปลอดภัยสารสนเทศสำหรับองค์กรที่ดำเนินการกับบัตรเครดิตที่มีแบรนด์จากโครงการบัตรชั้นนำ

PCC

รหัสเมืองเทียม (Pseudo City Code) ใช้เป็นมาตรการรักษาความปลอดภัยภายในระบบ GDS เพื่อให้ผู้จองการท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงราคาค่าธรรมเนียมที่เป็นความลับได้

PNR

'ระเบียนชื่อผู้โดยสาร' (Passenger Name Record) ของตัวแทนการท่องเที่ยว ซึ่งเก็บรายละเอียดทั้งหมดของนักเดินทาง รวมถึงโรงแรม สายการบิน และการเช่ารถ

POS

จุดชำระเงิน (Point of sale)

PPC

การโฆษณาแบบจ่ายต่อคลิก (Pay Per Click)

PMG

การรับประกันราคา (Price Match Guarantee) เป็นสัญญาที่ว่าโรงแรมหรือโอทีเอ (OTA) จะเสนอราคาที่ต่ำที่สุดหรือให้ราคาเท่ากับราคาต่ำสุด ที่มีในช่องทางใดๆ ก็ตามสำหรับผลิตภัณฑ์เดียวกัน

โปรโมชัน

แผนราคาส่งเสริมการขายสำหรับชุดวันที่ที่จะจองและวันที่ที่จะเข้าพักที่ระบุ ซึ่งราคาส่งเสริมการขายอาจไม่ได้มีส่วนลดเสมอไป บางครั้งอาจเป็นราคาพรีเมีนมที่มีบริการบางอย่างรวมอยู่

ID ที่พัก (หรือที่รู้จักกันในชื่อ ID โรงแรม)

รหัสเฉพาะที่กำหนดให้กับโรงแรมแต่ละแห่ง

ระบบการจัดการโรงแรม (PMS)

PMS จะจัดการทุกด้านของการดำเนินธุรกิจ รวมถึงแผนกต้อนรับ การสำรองห้องพัก การเช็กอิน/เช็กเอาต์ของผู้เข้าพัก การจัดสรรห้อง ราคาห้อง และการเรียกเก็บเงิน โดย PMS บางระบบได้รับการพัฒนาให้รวมการจัดการช่องทางและประสบการณ์ของผู้เข้าพักเข้าด้วย ตัวอย่างได้แก่ Mews, Preno, RMS, GuestCentrix, NewBook, Opera, และ Opera Cloud เป็นต้น

ราคาตามสิทธิ์ (Qualified Rate)

ราคาที่ผู้เข้าพักต้องถือสิทธิ์จึงจะได้เข้าพัก เช่น ราคาสำหรับองค์กรสำหรับบริษัทของผู้เข้าพัก หรือราคาที่ได้อันเป็นผลมาจากความเป็นพันธมิตรหรือการเป็นสมาชิก เช่น NRMA, AAA, Big4, หรือราคาแพ็กเกจส่งเสริมการขายพร้อมเงื่อนไขการจองเฉพาะ เป็นต้น

คิวอาร์โค้ด (QR code)

รหัสตอบสนองด่วน (QR code) เป็นบาร์โค้ดประเภทหนึ่งที่จัดเก็บข้อมูลเอาไว้ และสามารถอ่านได้ด้วยอุปกรณ์ดิจิทัล เช่น ด้วยโทรศัพท์มือถือ

ปุ่มเรดิเอ (Radio buttons)

ปุ่มตัวเลือกแบบเรดิโอ (มักเป็นวงกลมสำหรับคลิกเลือก) ใช้สำหรับคำตอบในคำถามแบบปรนัย โดยผู้ใช้สามารถเลือกได้หนึ่งตัวเลือกจากชุดตัวเลือกที่กำหนดมาให้ ตัวเลือกทั้งหมดจะปรากฏให้เห็น

การเชื่อมต่อราคา (Rate linking)

การตั้งราคาห้องพักให้เป็นราคาที่ขึ้นอยู่กับราคาห้องพักอื่น เมื่อคุณเปลี่ยนแปลงราคาห้องพักหลัก ราคาที่เชื่อมต่อไว้กับราคาหลักนี้ก็จะเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน

ความเท่าเทียมของราคา (Rate parity)

ความเท่าเทียมของราคา คือคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับราคาที่พักของโรงแรม ซึ่งจะแสดงและสามารถจองได้เท่ากันทุกประการผ่านช่องทางสาธารณะใดก็ได้ ไม่ว่าลูกค้า/ผู้เข้าพักจะจองห้องพักผ่านเว็บไซต์โดยตรงของโรงแรม ผ่านโอทีเอ หรือผ่านแพลตฟอร์มการจองใดๆ ก็ตาม "ความเท่าเทียมกัน" (parity) จะเกิดขึ้น เมื่อลูกค้าเห็นราคาเดียวกันสำหรับวันที่เข้าพักเดียวกัน ประเภทห้องเดียวกัน และเงื่อนไขการจองเดียวกันในทุกช่องทาง โดยโรงแรมที่ "ไม่เท่าเทียมกับรายอื่น" (out of parity) อาจมีความเสี่ยงที่จะถูกลงโทษจากพันธมิตรการจองการเดินทางได้

แผนราคา (Rate plan)

คำจำกัดความและการนำแผนราคาไปใช้งานจริงจะแตกต่างกันไปตามแต่ละ PMS, CRS และผู้จัดการช่องทาง ซึ่งคำจำกัดความที่พบบ่อยที่สุดก็คือ ราคาห้องพักที่เสนอพร้อมรายการมูลค่าเพิ่มที่รวมอยู่ในราคาด้วย เช่น อาหารเช้า หรือไวน์ต้อนรับเมื่อเดินทางมาถึง โดยทั่วไปแล้วแผนราคาจะถูกกำหนดตามฤดูกาล วันในสัปดาห์ ช่วงความต้องการ ฯลฯ นอกจากนี้แผนราคายังอาจเป็นราคา "เฉพาะห้องเท่านั้น" (room only) ที่ได้รับการกำหนดค่าเอาไว้หรือกำหนดให้กับห้องประเภทใดประเภทหนึ่ง

ราคา (Rates)

ราคาที่โรงแรมขายห้องพักของตน เรียกในชื่ออื่นๆ ว่าค่าใช้จ่าย มูลค่า ค่าธรรมเนียม ค่าบริการห้องพัก ฯลฯ

การกระทบยอด (Reconciliation)

ในบริบทของการจัดการโรงแรม รายได้ และ OTA การกระทบยอดหมายถึงกระบวนการจัดเรียงและตรวจยืนยันข้อมูล เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลมีความถูกต้องเที่ยงตรงและสอดคล้องกัน

ช่วงเวลาปล่อยจองห้องพัก

เรียกอีกอย่างว่าข้อจำกัด "การซื้อล่วงหน้า" หรือข้อจำกัด "การจองล่วงหน้าขั้นต่ำ" โดยช่วงเวลาปล่อยจองห้องพักคือ จำนวนวันขั้นต่ำที่ต้องทำการจองก่อนที่จะเช็กอิน ซึ่งผู้เข้าพักต้องจองล่วงหน้าตามจำนวนวันที่กำหนด เช่น ล่วงหน้าอย่างน้อยเจ็ดวัน หรืออย่างน้อยหนึ่งเดือน เป็นต้น

บริษัทตัวแทน

องค์กรที่ให้บริการการสำรองห้องพัก รวมถึงการดำเนินการสำรองห้องพักด้วยเสียง และ/หรือการเชื่อมต่อ GDS สำหรับโรงแรมหรือบริษัทโรงแรมขนาดเล็ก ที่ไม่ต้องการบริหารจัดการบริการและระบบเหล่านี้ด้วยตนเอง

รีเกรตส์ (Regrets)

รีเกรตส์คือข้อมูลทางสถิติที่บันทึกไว้ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ถูกปฏิเสธ โดยบางครั้งรีเกรตส์จะถูกจำแนกออกเป็นสองประเภท ได้แก่ การเปลี่ยนใจ (ตัวอย่างเช่น เมื่อผู้เข้าพักปฏิเสธที่จะทำการจองเนื่องจากราคา คุณลักษณะของที่พัก หรือทำเลที่ตั้ง) หรือการปฏิเสธ (ตัวอย่างเช่น เมื่อที่พักไม่สามารถยอมรับการจองได้เนื่องจากห้องพักเต็มแล้ว) ซึ่งข้อมูลการเปลี่ยนใจ (Turnaway data) ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการคาดการณ์ความต้องการ เพื่อการบริหารจัดการรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในทางที่ดีแล้วควรมีการบันทึกรีเกรตส์เอาไว้ เพราะจะช่วยได้มากเมื่อตั้งกลยุทธ์ด้านราคา

การกำหนดราคาตามชื่อเสียง (Reputation pricing)

ศาสตร์ด้านการกำหนดราคาที่ผสานรวมชื่อเสียงทางออนไลน์ของโรงแรม รีวิวของผู้เข้าพัก และการให้เรทติ้ง เพื่อใช้ในการวางกลยุทธ์การจัดการรายได้

การจองในมือ หรือที่เรียกว่าการจองลงบันทึก (BOB)

จำนวนการจองห้องพักที่ได้รับการยืนยันในโรงแรม สำหรับวันที่ หรือลำดับของวันที่หนึ่งๆ โดยที่การพยากรณ์ที่แม่นยำเป็นผลมาจาก ROH/BOB บวกกับอุปสงค์แบบไม่มีเงื่อนไข (unconstrained demand)

ข้อจำกัด

การควบคุมที่ใช้เป็นฟังก์ชัน ที่สามารถนำไปใช้กับประเภทห้อง/ราคาห้องแต่ละประเภท เพื่อให้ควบคุมการจองห้องพักได้ดีขึ้น และส่งผลให้มีกลยุทธ์การจัดการรายได้ที่ประสบความสำเร็จ

โมเดลค้าปลีก

โมเดลค้าปลีกคล้ายคลึงกับตัวแทนแบบดั้งเดิมในแง่ของทฤษฎี โดยจะมีการ "ดึง" ราคาและอินเวนทอรีจากหนึ่งในระบบการจองเบ็ดเสร็จ (GDS) หรือผู้ค้าส่ง และแสดงโดยตรงให้ผู้บริโภคสามารถจองได้

การจัดการรายได้

เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการจัดการผลตอบแทน เป็นแนวทางปฏิบัติของสายการบิน โรงแรม บริษัทให้เช่ารถยนต์ และบริษัทด้านการท่องเที่ยว (รวมไปถึงอุตสาหกรรมใดๆ ก็ตามที่มีอินเวนทอรีที่จะสูญค่าและความต้องการสินค้าที่ผันผวนได้) ในการควบคุมอุปทานและราคาของอินเวนทอรีของตน เพื่อให้ได้รับรายได้หรือกำไรสูงสุด

ดัชนีการสร้างรายได้ (RGI)

RGI จะเปรียบเทียบ RevPAR ของโรงแรมของคุณกับ RevPAR เฉลี่ยในตลาด โดยจะใช้เพื่อหาคำตอบว่าโรงแรมได้รับส่วนแบ่งรายได้ที่เป็นธรรมหรือไม่ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับกลุ่มโรงแรมคู่แข่ง สูตร RGI: RGI = RevPAR ของโรงแรมของคุณ/RevPAR ของตลาดโรงแรม

เมื่อ:

RGI = 1 แสดงว่า RevPAR ของโรงแรมมีค่าเท่ากับ RevPAR เฉลี่ยของโรงแรมในกลุ่มการแข่งขัน (comp set) เดียวกัน

RGI > 1 แสดงว่า RevPAR ของโรงแรมสูงกว่า RevPAR เฉลี่ยของโรงแรมที่อยู่ในกลุ่มการแข่งขันเดียวกัน

RGI < 1 แสดงว่า RevPAR ของโรงแรมต่ำกว่า RevPAR เฉลี่ยของโรงแรมที่อยู่ในกลุ่มการแข่งขัน (comp set) เดียวกัน

การจัดการรายได้ (RMS)

RMS เป็นโซลูชันซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้เจ้าของโรงแรมสามารถคาดการณ์ กำหนดราคา และจัดการรายได้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลมากกว่าที่คนเพียงคนเดียวจะทำได้ โดยใช้ประโยชน์จากข้อมูลของโรงแรม จากข้อมูลข่าวกรองทางการตลาด และข้อมูลช่องทางที่ผสานรวม ซึ่งระบบ RMS ที่พบมากที่สุดคือ IDeaS, Duetto, และ EZRms

การเพิ่มประสิทธิภาพรายได้

วินัยและวัฒนธรรมทางธุรกิจที่มุ่งเน้นการรักษาสมดุลระหว่างอุปทานและอุปสงค์ อย่างมีตรรกะและเป็นระบบ เพื่อเพิ่มรายได้และกำไรให้สูงสุดและรับเงื่อนไขทางการค้าที่ดีที่สุด พร้อมทั้งจัดการความเสี่ยงภายใต้สภาวะตลาดปัจจุบัน และตลาดที่คาดการณ์ไว้

RevPAC

รายได้ต่อลูกค้าที่มีอยู่ (Revenue Per Available Customer) ตัวชี้วัดนี้ไปไกลกว่า RevPAR (รายได้ต่อห้องที่มีอยู่) แบบดั้งเดิม โดยพิจารณาจากค่าใช้จ่ายทั้งหมดของผู้เข้าพักแต่ละคน ที่มีการใช้บริการต่างๆ ของโรงแรม

RevPAR

รายได้ต่อห้องที่มีอยู่ (Revenue Per Available Room) แสดงเป็นจำนวนเงินสกุลเงิน/ดอลลาร์ คำนวณโดยราคาเฉลี่ยคูณด้วยอัตราการเข้าพัก หรือรายได้ทั้งหมดจากห้องพักหารด้วยจำนวนห้องพักทั้งหมดที่มี

RevPASH

รายได้ต่อชั่วโมงต่อที่นั่งที่มี (Revenue Per Available Seat Hour) มีประโยชน์อย่างยิ่งในร้านอาหารของโรงแรม

รายได้ต่อห้องพักที่มีผู้เข้าพัก (RevPOR)

คำนวณโดยการนำรายได้ต่อวันโดยรวม (รวมถึงรายได้เสริม) มาหารด้วยจำนวนห้องทั้งหมดที่มีผู้เข้าพักในโรงแรม

RFP

คำขอรับข้อเสนอ (Request for Proposal) คำนี้ใช้ในกระบวนการที่ผู้ซื้อขอข้อมูลผลิตภัณฑ์หรือบริการจากผู้ขายที่มีแนวโน้มว่าจะขาย ในรูปแบบของคำเชิญชวนให้จัดหาผลิตภัณฑ์หรือบริการตามที่ระบุ พร้อมราคา

บล็อกห้องพัก (Room block)

กลุ่มของห้องพักจำนวนหนึ่ง ซึ่งอาจสร้างขึ้นเพื่อจัดระเบียบห้องพักในรูปลักษณะต่างๆ เพื่อช่วยในการวางแผนและการขาย หรือเพื่องานด้านการบริหารจัดการอื่นๆ ตัวอย่างบล็อกห้องพักอาจประกอบไปด้วย: กลุ่มห้องพักที่มีราคาคงที่ราคาเดียว ที่รับผู้เข้าพักรายเดียว ช่องทางเดียว หรือทีมพนักงานทีมเดียว ที่จะจัดการหรือดูแลห้องพักในบล็อกนั้นๆ

การปิดห้องพัก (Room closure)

ฟังก์ชันที่ปิดห้องทางกายภาพด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม ที่ไม่ได้เป็นผลมาจากการจอง การปิดห้องพักจะเป็นการนำห้องพักออกจากการเสนอห้อง

รหัสห้องพัก

ชุดของตัวอักษรและตัวเลขที่ใช้ในระบบการจองเบ็ดเสร็จ (GDS) เพื่อระบุประเภทห้องพักที่เฉพาะเจาะจงในโรงแรม ตัวอย่างเช่น โดยทั่วไป A1K จะอธิบายถึงห้องดีลักซ์ที่มีเตียงคิงไซส์ 1 เตียง

ราคาห้องพัก

แผนราคาที่ผูกเข้ากับประเภทห้องพักประเภทใดประเภทหนึ่งเป็นการเฉพาะ จะกลายเป็น "ราคาห้องพัก"

ห้องต่อคืน (Room night)

ห้องหนึ่งห้องที่ใช้พักหนึ่งคืน

ประเภทห้องพัก

คำอธิบายห้องทั่วไปตามประเภทห้อง (เช่น ห้องซูพีเรีย หรือมาตรฐาน) และประเภทเตียง (เตียงเดี่ยว เตียงคู่ เตียงคิงไซซ์ หรือเตียงคู่ เป็นต้น) โดยมักจะมีความสัมพันธ์กับรหัสราคา

Run of the House (ROH)

ราคาคงที่ (flat price) ที่โรงแรมตกลง ที่จะเสนอห้องใดห้องหนึ่ง โดยไม่คำนึงถึงประเภทห้อง โดยผู้เข้าพักจะได้รับการจัดสรรห้องพักในโรงแรม ตามจำนวนห้องว่าง

SEM

การตลาดด้วยเสิร์ชเอนจิ้น กิจกรรมทางการตลาดออนไลน์โดยใช้การโฆษณาแบบชำระเงิน ที่จะช่วยให้โรงแรมของคุณติดอันดับสูงขึ้นในผลการค้นหา การจัดอันดับที่พักของคุณให้อยู่อันดับต้นๆ ของผลการค้นหา (search results) จะช่วยเพิ่มการมองเห็น และการเข้าชมเว็บไซต์ของคุณได้อย่างมาก

SEO

การปรับให้เหมาะสำหรับเสิร์ชเอนจิ้น กระบวนการปรับปรุงอันดับของเว็บไซต์โรงแรมบนหน้าผลลัพธ์ของเครื่องมือค้นหา (เช่น Google, Bing, และ Yahoo) อย่างต่อเนื่อง โดยจะทำให้สามารถเพิ่มการปรากฏตัวทางออนไลน์ เพิ่มการเข้าชมเว็บไซต์ของคุณ และเพิ่มการจองโรงแรมของคุณได้

Secure sockets layer (SSL)

โปรโตคอลที่มีการเข้ารหัสที่ออกแบบมาเพื่อให้แน่ใจว่าจะมีการรักษาความปลอดภัยบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (หรืออินเทอร์เน็ต)

ส่วน/เซ็กเมนต์

เป็นรูปแบบหนึ่งของการแบ่งประเภท ที่มุ่งเป้าไปที่กลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การตลาด

Sell through

ฟังก์ชันการควบคุมอินเวนทอรีห้องพักของ CRS (ระบบการจองด้วยคอมพิวเตอร์) ของโรงแรม แปลว่าไม่สามารถยืนยันการมาถึงหรือการจองที่พักหลายคืนในระยะเวลาสั้นๆ ในวันที่ดังกล่าวได้ แต่สามารถยืนยันการจองที่มีการเดินทางมาถึงในวันก่อนหน้า และเข้าพักเป็นเวลานานขึ้น

เซสชัน

แอปเซสชัน (App sessions) เกิดขึ้นเมื่อผู้ใช้โต้ตอบกับแอปหลังการติดตั้ง

Shoulder Nights

เมื่อพิจารณาจากการคาดการณ์ความต้องการ และราคาเข้าพักของโรงแรม ช่วงคืนที่ไม่ยุ่งของสัปดาห์จะมีราคาเข้าพักต่ำกว่า ทั้งช่วงที่มีการเข้าพักสูงสุด และช่วงที่มีการเข้าพักสูงสุด

ส่วนลดสำหรับผู้เข้าพักคนเดียว

ส่วนลดที่ใช้กับการกำหนดราคาห้องพักเมื่อมีผู้เข้าพักในห้องนั้นเพียงคนเดียว

Software as a Service (SaaS)

รูปแบบการส่งมอบซอฟต์แวร์ ซึ่งซอฟต์แวร์นั้นได้รับการโฮสต์จากจุดกลางบนคลาวด์

โซลูชัน

การใช้ผลิตภัณฑ์และ/หรือบริการ รวมถึงคุณสมบัติต่างๆ ของผลิตภัณฑ์และ/หรือบริการดังกล่าวเพื่อแก้ไขปัญหาด้านความต้องการที่เฉพาะเจาะจงของอุตสาหกรรมหรือปัญหาทางธุรกิจ

แหล่งที่มาของธุรกิจ

ช่องทางการตลาดที่ผู้เข้าพักใช้ค้นหาโรงแรม โดยแหล่งที่มาของธุรกิจ ยังอาจเป็นหน่วยงานด้านการท่องเที่ยว คีออสก์ในสนามบิน บัญชีตัวแทนการท่องเที่ยว ฯลฯ

กิจกรรม(พิเศษ)

วันที่หรือชุดวันที่ซึ่งที่พัก (สถานที่ต้อนรับหรือผู้ให้บริการที่พัก) จะต้องคาดการณ์และจัดการรายได้ตามเงื่อนไขตลาดที่เกี่ยวข้องกับอีเวนต์หรือกิจกรรมบางอย่างที่จัดขึ้นในละแวกใกล้เคียง โดยอาจเป็นกิจกรรมด้านกีฬา เทศกาลทางวัฒนธรรม คอนเสิร์ต การประชุมของบริษัท หรือการประชุมของสมาคม ซึ่งข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความคืบหน้าในการจองและความต้องการของตลาดอาจบ่งชี้ให้เห็นว่า เมื่อใดที่ราคาการเข้าพักและบรรยากาศทางด้านราคาจะต่างไปจากที่คาดไว้โดยทั่วไป ในวันปฏิทินเดียวกัน หรือในวันที่คล้ายกัน

SPF

บันทึกกรอบนโยบายผู้ส่ง (SPF) เป็นขั้นตอนที่จำเป็นที่ต้องดำเนินการ เพื่อป้องกันไม่ให้อีเมลถูกทำเครื่องหมายว่าเป็นสแปม

SPID

Service Profile Identifier (SPID) คือหมายเลขที่กำหนดให้กับสายเครือข่ายบริการดิจิทัลแบบอินทิเกรต (Integrated Services Digital Network หรือ ISDN) โดยบริษัทโทรศัพท์ ซึ่งจะระบุว่าอุปกรณ์ ISDN สามารถเข้าถึงบริการใดได้บ้าง

หยุดขาย (หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปิดรับการขายหรือบล็อก)

คุณสมบัติการจำกัดที่อนุญาตให้โรงแรมระบุว่า “หยุด” ให้กับการจองสำหรับราคา/ห้องพักและวันที่ที่เฉพาะเจาะจงในแต่ละช่องทาง แม้ว่าจะยังมีห้องพักว่างอยู่ก็ตาม

ระบบลงบันทึก

ระบบลงบันทึกคือระบบที่มีความรับผิดชอบหลักในการรวบรวมและดูแลข้อมูลประเภทใดประเภทหนึ่งโดยเฉพาะ

ตัวกลางบุคคลที่สาม (TPI)

คำศัพท์อีกคำที่ใช้เรียก OTA (ตัวแทนการท่องเที่ยวออนไลน์)

TMC

บริษัทจัดการการท่องเที่ยว (Travel Management Company) ตัวอย่าง เช่น Carlson Wagonlit, American Express, Flight Centre (FCM)

TrevPAR

รายได้รวมต่อห้องพักที่มี (Total Revenue Per Available Room) ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานในอุตสาหกรรมที่พัก ซึ่งคำนวณได้โดยการหารรายได้สุทธิทั้งหมดของที่พักด้วยจำนวนห้องทั้งหมดที่มี โดยที่ร้านค้าต่างๆ เช่น ร้านอาหาร สปา และบริการให้เช่าอุปกรณ์ ถือเป็นแหล่งรายได้สำหรับที่พักด้วยเช่นกัน ปกติแล้ว TRevPAR เป็นตัวชี้วัดที่นักบัญชีและเจ้าของโรงแรมนิยมใช้ เนื่องจากสามารถกำหนดผลการดำเนินงานทางการเงินโดยรวมของโรงแรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ RevPAR จะนำรายได้จากห้องพักเข้ามาพิจารณาด้วย ทั้งนี้ TRevPAR ยังมีประโยชน์สำหรับโรงแรมบางที่ ที่ห้องพักไม่จำเป็นต้องเป็นองค์ประกอบที่ใหญ่ที่สุดของธุรกิจ

ตัวแทนท่องเที่ยว

ผู้ที่จัดการการเดินทางให้กับปัจเจกบุคคลหรือกลุ่ม ในนามของซัพพลายเออร์ (เช่น โรงแรม สายการบิน รถเช่า สายการเดินเรือ แพ็กเกจทัวร์ รถไฟ ผู้รับประกันการเดินทาง ฯลฯ)

การเปลี่ยนใจ (Turnaways)

การเปลี่ยนใจคือข้อมูลทางสถิติที่บันทึกไว้ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ถูกปฏิเสธ บางครั้งการปฏิเสธจะถูกจำแนกเป็น "รีเกรตส์" (regrets) หรือ "ดีไนล์ส" (denials) ซึ่งข้อมูลการเปลี่ยนใจ (Turnaway data) ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการคาดการณ์ความต้องการ เพื่อการบริหารจัดการรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระเบียน TXT

ประเภทของระบบชื่อโดเมน (Domain Name System หรือ DNS) ที่บันทึกในรูปแบบข้อความ ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับโดเมน

การพยากรณ์อุปสงค์แบบไม่มีเงื่อนไข (Unconstrained demand forecast)

อธิบายถึงจำนวนของลูกค้า/ผู้เข้าพักที่โรงแรมจะต้องรองรับหากสามารถรองรับได้แบบไม่จำกัด ตัวเลขนี้คืออุปสงค์รวมของสิ่งที่โรงแรมมีให้บริการในกรณีที่ไม่มีการจำกัดด้วยเงื่อนไขใดๆ โดยเป็นผลรวมของลูกค้าที่โรงแรมรับจองและผู้ที่อาจเป็นลูกค้าที่โรงแรมปฏิเสธ

คลิกที่ไม่ซ้ำ (Unique clicks)

จำนวนผู้ใช้ไม่ซ้ำกัน ที่คลิกบนลิงก์สำหรับการติดตามของแคมเปญต่างๆ (เช่น ลิงก์ในอีเมล เป็นต้น)

การเปิดที่ไม่ซ้ำ (Unique opens)

จำนวนผู้ใช้ที่ไม่ซ้ำกัน ที่เปิดอีเมลที่เป็นแคมเปญการตลาด

ราคาแบบไร้สิทธิ์ (Unqualified rates)

ราคาที่โรงแรมเสนอให้กับผู้เข้าพัก ที่ไม่ได้ตกลงราคากันไว้ และไม่มีข้อจำกัดหรือเงื่อนไขการจองใดๆ แนบมากับราคาด้วย โดยบางครั้งเรียกอีกอย่างว่า “ราคาขายปลีก” (retail rates)

การขายต่อยอด

"การขายต่อยอด" (Upsell) หมายถึง การโน้มน้าวให้ผู้เข้าพักซื้อบริการหรือสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มเติม หรือมีการอัปเกรดบางอย่างเข้าไปในการจอง มากกว่าที่ตั้งใจไว้แต่เดิม โดยอาจรวมถึงการเสนอการอัปเกรดห้องพัก แพ็กเกจอาหาร การบำบัดสปา หรือบริการเสริมอื่นๆ เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของผู้เข้าพัก และเพิ่มรายได้ให้กับโรงแรม

พารามิเตอร์ UTM

รหัสข้อความสั้น (Short text codes) ที่คุณเพิ่มลงใน URL (หรือลิงก์) เพื่อช่วยคุณติดตามประสิทธิภาพของเว็บเพจหรือแคมเปญ

ห้องว่าง

ที่พักหนึ่งหอ้งพักขึ้นไปที่พร้อมรองรับผู้เข้าพัก

อุปกรณ์ Valnes

ระบบล็อคประตูที่เชื่อมต่อกับซอฟต์แวร์ ที่รับผิดชอบในการจัดการประตูโรงแรมแบบออนไลน์ พร้อมมอบประสบการณ์แบบไร้การสัมผัสให้กับผู้เข้าพัก

มูลค่าเพิ่ม

"มูลค่าเพิ่ม" หมายถึง การให้สิทธิประโยชน์หรือบริการพิเศษแก่ผู้เข้าพัก เพื่อยกระดับประสบการณ์ของพวกเขา โดยไม่ต้องเพิ่มราคาอย่างมีนัยสำคัญ โดยอาจรวมถึงอาหารเช้าฟรี Wi-Fiฟรี บริการรถรับส่ง หรือการเข้าใช้สิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ฟิตเนส หรือสระว่ายน้ำ เป็นต้น การเพิ่มมูลค่ามีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้การเข้าพักของผู้เข้าพักมีความเพลิดเพลินมากยิ่งขึ้น และยังเสนอสิทธิพิเศษเพิ่มเติม นอกเหนือไปจากแค่ที่พักในห้องพื้นฐานอีกด้วย

บัตรกำนัล

เอกสาร เช่น คูปองหรือตั๋ว ที่สามารถแลกเป็นสินค้าหรือบริการบางอย่างได้

วอล์ก (Walk)

คำศัพท์ในอุตสาหกรรมการโรงแรม หมายถึง การนำผู้เข้าพักไปพักในโรงแรมแห่งอื่นทดแทน เนื่องจากไม่มีห้องว่างในโรงแรมที่จองไว้ในตอนแรก

วอล์กอิน (Walk-in)

คำศัพท์ในอุตสาหกรรมโรงแรม หมายถึง ลูกค้าที่เดินเข้ามาติดต่อแผนกต้อนรับเพื่อจองห้องพัก ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นการจองในวันที่ต้องการเข้าพัก แทนที่จะใช้การจองออนไลน์ (โดยตรงหรือผ่านบุคคลที่สาม) ทางโทรศัพท์ อีเมล หรือรูปแบบการจองอื่นๆ

โมเดลค้าส่ง (Wholesale model)

เว็บไซต์เหล่านี้ทำสัญญาโดยตรงกับโรงแรม โดยบวกส่วนเพิ่มไปที่ราคาห้องพัก และขายห้องพักที่ได้รับการจัดสรรมาให้แก่ผู้บริโภคในราคาใหม่ที่มีส่วนบวกเพิ่ม วิธีส่งมอบส่วนใหญ่จะดำเนินการผ่านโทรสาร โมเดลค้าส่งโดยสมบูรณ์นั้นพบได้ยาก เนื่องจากโดยมากแล้วจะเป็นการผสมผสานกับโมเดลอื่นๆ

ผู้ค้าส่ง (Wholesaler)

บริษัทภายนอกที่ซื้อห้องพักเป็นจำนวนมาก โดยทำการตลาดในรูปแบบทัวร์แบบครบวงจรและโปรแกรมท่องเที่ยวส่วนบุคคลให้กับลูกค้า ผ่านตัวแทนท่องเที่ยวและ OTA

ผลตอบแทน / การจัดการผลตอบแทน

ผลตอบแทน อาจแปลแบบง่ายๆ ว่ารายได้ที่เกิดขึ้น ผลตอบแทนสามารถหมายถึงรายได้ที่เกิดจากการขายที่พัก รวมทั้งจากร้านค้าต่างๆ ที่ให้บริการอยู่ในสถานที่ของโรงแรม และ/หรือร้านค้าที่อยู่นอกโรงแรม แต่ว่ามีการเชื่อมต่ออยู่กับโรงแรม ซึ่งในโครงสร้างพื้นฐานการจัดการบางกรณี ผลตอบแทนยังอาจหมายถึงผลกำไรของแผนกต่างๆ ในโรงแรมด้วย โดยวัดเป็นตามแผนกๆ ไป และไม่ได้วัดโดยรวมแต่เพียงอย่างเดียว

นี่ไม่ใช่คำตอบที่ต้องการใช่ไหม